วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สัตว์ป่าสงวน

สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 จำนวน 9 ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกวางผา

สัตว์ป่าสงวนเป็นสัตว์หายาก, ใกล้จะสูญพันธุ์ หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่าง ๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535


 กวางผา (Nemorhaedus griseus) 1 ใน 15 ชนิดสัตว์ป่าสงวนของไทย

 สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้และตามที่กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวกโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขหรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องถึงกับต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง 7 ชนิด และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก 1 ชนิด คือ เนื้อทราย รวมกับสัตว์ป่าสงวนเดิม 8 ชนิด รวมเป็น 15 ชนิด[1] ได้แก่

1.นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae)
2.แรด (Rhinoceros sondaicus)
3.กระซู่ (Dicerorhinus sumatrensis)
4.กูปรีหรือโคไพร (Bos sauveli)
5.ควายป่า (Bubalus bubalis)
6.ละอง หรือละมั่ง (Rucervus eldi)
7.สมัน หรือเนื้อสมัน (Rucervus schomburki)
8.เลียงผา หรือเยือง หรือกูรำ หรือโครำ (Capricornis sumatraensis)
9.กวางผา (Naemorhedus griseus)
10.นกแต้วแล้วท้องดำ (Pitta gurneyi)
11.นกกระเรียนไทย (Grus antigone)
12.แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata)
13.สมเสร็จ (Tapirus indicus)
14.เก้งหม้อ (Muntiacus feai)
15.พะยูน หรือหมูน้ำ (Dugong dugon)

ปุ๋ยชีวภาพ



 
น้ำหมักชีวภาพเมื่อนำไปใช้ในด้านกสิกรรม จะช่วยปรับสภาพความเป็น กรด - ด่างให้เป็นกลางในดินและน้ำ ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืช และโรคระบาดต่าง ๆ ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำ และให้อากาศผ่านได้อย่างเหมาะสมช่วยย่อยสะลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นอาหารของพืช พืชจะดูดซึมไปใช้ได้เลย และช่วยให้ผลผลิตคงทน มีคุณภาพสูง สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานเมื่อนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ทางการประมง จะช่วยปรับสภาพน้ำให้เป็นกลางควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กุ้ง กบได้ และช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้

ถ้านำไปใช้ในด้านปศุสัตว์จะทำให้มูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็น สุขภาพของสัตว์จะแข็งแรงและปลอดโรค คอกสัตว์จะไม่มีกลิ่นเหม็น ช่วยบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ ทำให้อัตราการตายต่ำลง และผลผลิตสูงขึ้น

เมื่อนำน้ำหมักชีวิภาพไปประยุกต์ใช้ในด้านรักษาสิ่งแวดล้อม จะช่วยกำจัดกลิ่นและย่อยสลายตะกอนในส้วม ทำให้ส้วมไม่เต็ม ทำความสะอาดพื้นห้องการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่ว ๆ ไป ปรับสภาพอากาศภายในห้องนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ให้สดชื่นกำจัดกลิ่นอับชื้นต่าง ๆ ได้นอกจากนี้ยังให้ฉีดพ่นกองขยะเพื่อลดกลิ่นและปริมาณของกองขยะให้เล็กลงรวมทั้งจำนวนแมลงวันด้วย
ส่วนทางด้านการแพทย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพพลานามัย การเจ็บไข้ได้ป่วยและการตายก่อนวัยอันสมควร ก่อนอายุขัย น้ำหมักชีวภาพจะช่วยผลิตอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ซึ่งจะทำให้อาหารนั้นเป็นยารักษาโรคไปพร้อม ๆ กันซึ่งจะลดการเจ็บไข้ได้ป่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
ป้องกันการตายก่อนอายุขัยได้
เกี่ยวกับปัญหาความยากจนและหนี้สินของเกษตรกรนั้นน้ำหมักชีวภาพจะเข้ามาแทนที่ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลงและเชื้อโรคต่าง ๆ จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง 4 -16 เท่า และผลผลิตจะสูงขึ้น 3 - 5 เท่า ภายใน 3 -5 ปี จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมาก และรายจ่ายน้อยลงมากในที่สุดปัญหาความยากจนและหนี้สินก็จะหมดไปภายในเวลาไม่เกิน 6 ปี
ทางด้านการทะเลาะวิวาทบาดหมางกันระหว่างเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงนั้นจะหมดไปเองเพราะไม่มีกลิ่นและมลภาวะไปรบกวนซึ่งกันและกันอีกทั้งฐานะก็ใกล้เคียงกันคืออยู่ดีกินดี มั่งมี ศรีสุข เนื่องจากหมดหนี้สิน
 
การทำการประยุกต์ใช้น้ำหมักชีวภาพ
--------------------------------------------------------------------------------
ถ้าเรานำหัวเชื้ออีเอ็ม (EM) หรือหัวเชื้อกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorgarnisms) มาใช้โดยตรงจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงโดยไม่มีความจำเป็นและได้จุลินทรีย์ที่มีความแข็งแรงน้อยกว่านำไปขยายเสียก่อนจึงใช้
วิธีการขยาย อีเอ็ม (EM)
อีเอ็ม (EM) 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำสะอาด 20 ส่วน หมักไว้ในภาชนะที่มีผาปิดมิชิดอย่าให้อากาศเข้าได้เป็นเวลา 7 วัน แล้วนำมาใช้ให้หมดภายใน 7 วัน เช่นเดียวกับวิธีการใช้ อีเอ็ม (EM)
การรักษา อีเอ็ม (EM)
เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส - 45 องศาเซลเซียส (อย่าเก็บในตู้เย็น) โดยปิดฝาให้สนิทอย่าให้อากาศเข้าได้ ถ้าเปิดใช้แล้วต้องรีบปิดทันที เก็บรักษาไว้ได้ประมาณ 6-8 เดือน หรือมากกว่านั้น
วิธีการใช้ อีเอ็ม (EM) และ อีเอ็ม (EM) ขยายแล้ว
1. การกสิกรรม
ใช้อีเอ็ม (EM) หรือ อีเอ็ม (EM) ขยายผสมน้ำ 1:1000 เท่า (อีเอ็ม 1ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร) ฉีดพ่นรดพืชผักสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แทนปุ๋ยเคมี
2. การประมง
2.1 ใช้อีเอ็มขยายใส่บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ (ปลา กุ้ง กบ ตะพาบน้ำ จระเข้) ในอัตราส่วน 1:1000 เท่า (อีเอ็มขยาย 1 ลิตร ต่อน้ำในบ่อ 10 ลูกบาศก์เมตร) ทุก ๆ 7-10 วัน เพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย
2.2 ใช้อีเอ็มขยายคลุกอาหารสัตว์น้ำก่อนให้กินประมาณ 4 ชั่วโมง (มื้อต่อมื้อ)โดยปิดฝาภาชนะให้สนิทอย่าให้อากาศเข้าได้
3. การปศุสัตว์
3.1 ใช้อีเอ็ม (EM) หัวเชื้อผสมน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1:5000 เท่า (1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำสะอาด 50 ลิตร) ให้สัตว์กินเป็นประจำมูลสัตว์จะไม่มีกลิ่นเหม็น
3.2 ใช้อีเอ็ม (EM) ขยาย ผสมน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1:500 เท่า(1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำสะอาด 5 ลิตร) ฉีดพ่นและล้างคอกสัตว์เพื่อกำจัดกลิ่นมูลเก่าได้ภายใน 24 ชั่วโมง
3.2 บำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ภายใน 1-2 สัปดาห์
4. ด้านสิ่งแวดล้อม
4.1 ใช้อีเอ็ม (EM) ขยาย ใส่ส้วมเพื่อกำจัดกลิ่นและย่อยสลายตะกอน
4.2 ใช้อีเอ็ม (EM) ผสมน้ำอัตราส่วน 1:500 เท่า ฉีดพ่นเป็นฝอยในอาคารบ้านเรือน ปรับอากาศให้สดชื่น กำจัดกลิ่นอับชื้นต่าง ๆ และใช้ ใช้อีเอ็ม (EM) ขยายในอัตราส่วนเดิมทำความสะอาดพื้นห้องน้ำ ห้องส้วม กำจัดกลิ่นคราบสกปรก
4.3 ใช้อีเอ็ม (EM) ขยาย ในอัตราส่วน 1:10,000-20,000 เท่า ฉีดพ่นหรือราดรดน้ำเสียจากการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมชุมชน และสถานประกอบการทั่ว ๆ ไป ในบ่อบำบัดน้ำเสีย





พืชพลังงานทดแทน


กระทรวงพลังงาน – เกษตรฯ กำหนดแผนส่งเสริมพืชพลังงานเป็นรูปธรรม นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นรูปธรรม กับพืชพลังงาน
นพ.วรรณรัตน์ กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นพันธสัญญาในความร่วมมือพัฒนาพืชพลังงานทดแทนให้ เห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงานทดแทน สนับสนุนข้อมูล ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่าง ๆ โดยตั้งเป้าหมายจากข้อตกลงดังกล่าว เช่น ด้านเชื้อเพลิงชีวภาพได้กำหนดเป้าหมายใช้น้ำมันปาล์มในการผลิตไบโอดีเซล 600,000 ตันต่อปี ภายในปี 2554 และเพิ่มเป็น 1.1 ล้านตันในปี 2565 ขณะที่การผลิตเอทานอลจะมีการส่งเสริมให้ใช้มันสำปะหลัง 1.5 ล้านตันในปี 2554 และเพิ่มเป็น 9 ล้านตันในปี 2565 โดยกระทรวงเกษตรฯ จะร่วมส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชพลังงานให้ได้ตามเป้าหมายดังกล่าว
นอกจากนี้ จะเร่งรัดการพัฒนาพลังงานทดแทนอื่น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีการตั้งเป้าว่าจะส่งเสริมระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์นอกเขตสายส่ง ผลิตไฟฟ้าอีก 2,000 กิโลวัตต์ภายในปี 2565 พลังงานลม ส่งเสริมให้ได้อีก 800 เมกะวัตต์ในปี 2565 พลังงานน้ำ กำหนดเป้าหมายผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำจากท้ายเขื่อนและอาคารชลประทาน 140 เมกะวัตต์ในปี 2565 ขณะที่พลังงานชีวมวลจะมีการส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานดังกล่าวอีก 3,700 เมกะวัตต์. โดยสำนักข่าวไทย





พืชพลังงานทดแทน
กระถินยักษ์ พืชพลังงาน เชื้อเพลิงร่วมป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวล ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี มุ่งให้ประเทศไทยใช้พลังงานทดแทนเป็นหลักของประเทศแทนการนำเข้าน้ำมัน โดยวางเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้เป็นร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานในปี 2565 ซึ่งพลังงานทดแทนที่มีการส่งเสริมให้มีการนำมาใช้สูงสุดคือ พลังงานชีวมวล จำนวน 3,700 เมกะวัตต์ หนึ่งในพลังงานชีวมวลที่น่าสนใจคือ นำไม้โตเร็วมาเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จัดทำโครงการ “ศึกษาความเป็นไปได้การปลูกไม้โตเร็วเพื่อเป็นพลังงานชีวมวล” เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิงชีวมวลสำหรับผลิตไฟฟ้าและทำความร้อน และเพื่อส่งเสริมการขยายพื้นที่ป่าโตเร็วเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น จากการศึกษาพบว่า กระถินยักษ์ กระถินเทพา และยูคาลิปตัส เป็นพันธุ์ไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็วและปลูกง่าย
วีรชัย อาจหาญ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวมวล อาจารย์คณะวิศวกรรมเกษตร มทส. เล่าให้ฟังว่า มหาวิทยาลัยได้ทำโครงการวิจัยการปลูกกระถินยักษ์เพื่อเป็นพลังงานชีวมวลว่า ตั้งแต่ปี 2547 จนนับถึงปัจจุบันกระถินยักษ์ที่ปลูกในพื้นที่นำร่อง 4 แห่งด้วยกัน โดยการสนับสนุนด้านงบประมาณ และเมล็ดพันธุ์ และองค์ความรู้จาก มทส. ได้แก่โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 จ.ลพบุรี ในพื้นที่ปลูกประมาณ 500 ไร่ ภายใต้ความดูแลของวัดพระบาทน้ำพุ โรงไฟฟ้าด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ประมาณ 2,000 ไร่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา จำนวน 300 ไร่ สามารถนำมาใช้เพื่อป้อนโรงไฟฟ้าได้แล้ว โดย กระถินยักษ์สามารถใช้ในโรงไฟฟ้าด่านช้าง ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 30 เมกะวัตต์ ใช้เชื้อเพลิงจากกระถินยักษ์ที่ปลูกในพื้นที่ 5,000 ตัน โดย สัดส่วนของจำนวนเชื้อเพลิงดังกล่าวผลิตไฟฟ้าได้ 0.7 เมกะวัตต์
ขณะที่ในพื้นที่สำหรับโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกไม้โตเร็วเพื่อ เป็นพลังงานทดแทน ในโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งของวัดพระบาทน้ำพุ ที่กำลังรอโรงไฟฟ้ากำลังการผลิต 1 เมกะวัตต์ เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในโครงการต้นแบบบ้านพักผู้ป่วยในระยะสุดท้าย รวมทั้งพื้นที่ปลูกกระถินยักษ์ของมหาวิทยาลัยสามารถที่จะป้อนให้โรงไฟฟ้า ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกไม้โตเร็วในโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 ประมาณ 500 ไร่ และพื้นที่ ของเกษตรกรบริเวณใกล้เคียงจำนวน 500 ไร่ ทั้งนี้มีเป้าหมายปลูกไม้โตเร็วให้ได้ 4,000 ไร่ ซึ่ง มทส. ได้สนับสนุนเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ โดยมีการสร้างแปลงเพาะในโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 มีกำลังการผลิต 200,000 กล้าต่อเดือน สำหรับไม้โตเร็วเหล่านี้จะนำไปป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 1.5 เมกะวัตต์ เพื่อใช้เป็นพลังงานร่วม เป้าหมายเพื่อการผลิตพลังงานชีวมวลของภาครัฐ
ทั้งนี้มีการปลูกไม้โตเร็วในโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกไม้โตเร็ว เพื่อเป็นพลังงานชีวมวลแล้วเกือบ 8,000 ไร่ และมีการแจกจ่ายกล้าไม้เพื่อปลูกไปแล้วกว่า 1.5 ล้านตัน และเมล็ดพันธุ์กว่า 1,000 กิโลกรัม โดยไม้ที่โตเต็มที่แล้วจะถูกป้อนเป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าดังกล่าว ในฐานะเป็นพลังงานร่วม
หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวมวล อาจารย์คณะวิศวกรรมเกษตร มทส. กล่าวต่อว่า ในบรรดาพืชที่ให้พลังงานชีวมวล กระถินยักษ์ เป็นพืชที่น่าสนใจและทดลองแล้วได้ผลดี เพราะเป็นไม้โตเร็ว ใช้ระยะเวลาปลูก 4-5 ปีสามารถตัดมาใช้เพื่อทำเชื้อเพลิงได้ อีกทั้งเป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลมากนัก กระถินยักษ์ในตระกูลถั่วที่สามารถดึงไนโตรเจนในอากาศมาใช้ นอกจากคุณสมบัติดีด้านโตเร็วแล้ว ยังสามารถทำเยื่อกระดาษเหมือนกับต้นยูคาลิปตัสได้ แต่ไม่ได้รับความนิยมเพราะโรงงานเยื่อกระดาษในบ้านเราออกแบบเครื่องจักรมา สำหรับยูคาลิปตัส ซึ่งในสมัยหนึ่ง เคยมีการส่งเสริมให้ปลูกกระถินยักษ์เพื่อผลิตเยื่อกระดาษแต่เกิดโรคเพลี้ย ไก่ฟ้าระบาดในปี 2520 ทำให้การปลูกกระถินยักษ์ไม่ได้รับความสนใจ
ขณะที่ยูคาลิปตัสเริ่มได้รับความนิยม ในฐานะไม้โตเร็วหมือนกัน แต่กระถิ่นยักษ์ถือว่าเป็นไม้เบิกนำได้ดีกว่า ในพื้นที่แห้งแล้งภูเขาหัวโล้น นำกระถินยักษ์ไปปลูกเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวและเป็นไม้เบิกนำได้ แต่ถ้ามองในแง่คุณภาพดิน ทั้งไม้ยูคาลิปตัสและกระถินยักษ์เป็นพืชที่เติบโตเร็ว ต้องใช้ธาตุอาหารจากดินไม่ต่างกัน การปลูกพืชชนิดนี้ต้องดูแลบำรุงดิน แต่กระถินยักษ์ดึงไนโตรเจนออกจากดินได้น้อยกว่า เพราะ มีไลโซเปียม ดึงไนโตรเจนในอากาศออกมาใช้เมื่อเทียบความเสื่อมของดินจึงมีน้อยกว่า ยูคาลิปตัส ขณะที่ยอดกระถิน และใบนำมาเป็นอาหารสัตว์ได้ ส่วนปัญหาแมลงศัตรูพืชของกระถินยักษ์ ปัจจุบันสามารถใช้ตัวห้ำตัวเบียนเพื่อจัดการปัญหาได้แล้ว



อย่างไรก็ตามที่จะปลูกไม้โตเร็วอย่างกระถินยักษ์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนใน พื้นที่อื่น ๆ นั้น ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ต้องเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่จำนวน 1,000 ไร่ขึ้นไป คำนึงถึงเส้นทางการขนส่ง มีโรงไฟฟ้าในพื้นที่ เหมาะกับโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ผลิตไฟฟ้าใช้ในอุตสาหกรรม เฉกเช่นเดียวกับพลังงานชีวมวลต่าง ๆ ที่กำลังศึกษาวิจัยไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว เหง้ามันสำปะหลัง สิ่งเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งของพลังงานทดแทนที่กำลังมีอนาคต ที่จะมาใช้ช่วยเสริมเป็นพลังงานหลัก แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านอื่นควบคู่กันไปด้วย.
ข้อมูลการเกษตรที่เกี่ยวข้อง ที่อาจสนใจ
  1. การเกษตรทฤษฎีใหม่
  2. กิ่งยางพารา พันธุ์ดี
  3. งานเกษตรแฟร์ 2554 ที่ เกษตรศาสตร์ บางเขน
  4. งานเกษตรแฟร์ประจำปี 2554 วันนี้วันแรก เลี่ยงเส้นทาง
  5. ต้นแบบ ไบโอดีเซล ที่พึ่งประชาชนยุคน้ำมันแพง

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เกษตรดีที่เหมาะสม

GAP ย่อมาจากคำว่า “Good Agricultural Practice” ซึ่งทางกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความหมาย ว่า “ เกษตรดีที่เหมาะสม ” เป็นระบบการจัดการกระบวนการผลิตทางการเกษตร เพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยมีคุณภาพ ปราศจากศัตรูพืช และจุลินทรีย์ เป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภคในประเทศไทย การตรวจประเมิน และรับรองระบบการจัดการโดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยปัจจัยที่ใช้ในการตรวจประเมินแปลงผลิตของเกษตรกรเพื่อให้ได้ตามระบบการจัดการคุณภาพพืช เกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) มีการตรวจสอบอย่างน้อย 8 ปัจจัย คือ
•  แหล่งน้ำ
•  พื้นที่ปลูก
•  การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร
•  การเก็บรักษาและขนย้ายผลผลิตภายในแปลง
•  การบันทึกข้อมูล
•  การผลิตให้ปลอดจากศัตรูพืช
•  การจัดกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ
•  การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
เมื่อเกษตรกรปฏิบัติตามทั้ง 8 ปัจจัยแล้ว จะได้รับหนังสือแหล่งผลิตพืช “ เกษตรดีที่เหมาะสม ” (GAP) ภายใต้สัญลักษณ์ “Q” ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรกำลังรณรงค์ให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ โดยขอรับการจดทะเบียนแปลงเกษตรกร ซึ่งสามารถส่งแบบฟอร์มพร้อมกับยื่นใบคำขอได้ ณ หน่วยงาน ส.ว.พ. ทั้ง 8 เขต เพื่อให้ผู้ตรวจสอบแปลง GAP (Inspector) ซึ่งมีอยู่ 400 รายทั่วประเทศ เข้าไปทำการตรวจสอบได้