วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง ( อังกฤษ : sufficiency economy) เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ รวมถึงระดับรัฐบาลในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัส แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ และภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ทรงเน้นย้ำเป็นแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจ และสาขาอื่นๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัส เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙) และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานฯ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไปในที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนใน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง ในการนำวิชาต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานข้างต้น เป็นที่มาของ นิยาม "๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านช่องทางต่างๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนเงื่อนไข ความรู้ และ คุณธรรม
ในวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสว่า
"การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง"
พระราชดำรัส "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ยึดหลักทางสายกลาง คำว่า ความพอเพียง นั้นหมายถึงความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทั้งภายนอกและภาย ใน ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ยังสามารถมองได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ที่จำเป็นต้องใช้ทั้ง ความรู้ ความเข้าใจ ผนวกกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้นในสภาพที่มีการแข่งขัน และการไหลบ่าของโลกาภิวัต นำสู่ ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ของ ชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม
อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึงเศรษฐกิจพอเพียงว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น" การดำรงชีวิตอยู่ได้ จำเป็นที่จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญสี่ประการ ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ซึ่งในโลกยุคทุนนิยมอย่างเช่นปัจจุบันนี้ ปัจจัยทั้งสี่ไม่อาจ จะหามาได้ถ้าปราศจาก เงิน ซึ่งถือว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาแต่นมนาน การได้มาซึ่งเงินนั้น จำเป็นที่บุคคลจะต้องประกอบสัมมาอาชีพ แล้วนำเงินที่ได้มานั้น ไปแลกเปลี่ยนให้ได้มาซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิต
ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของ บุคคลนั้นโดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน (ปัจจัยเสริมในที่นี้เช่น ท่องเที่ยว ความบันเทิง เป็นต้น) สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางใน ขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมในปัจจุบัน ได้ถูกปลูกฝัง หรือสร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต
ในแง่เศรษฐกิจมหภาค ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงอาจจะทำให้ระดับการบริโภคโดยรวมลดลง ซึ่งเป็นไปได้เนื่องจากประชาชนจะไม่กู้หนี้ยืมสินเพื่อมาใช้จ่าย แต่อาจทำให้กำลังการใช้จ่ายสะท้อนภาพจริงของเศรษฐกิจ
การนำไปใช้
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔) เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า สังคมสีเขียว (Green Society) ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯฉบับที่ ๑๐ นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท
ปัญหาหนึ่งของการนำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ก็คือ ผู้นำไปใช้อาจยังไม่ได้ศึกษาหรือไม่มีความรู้เพียงพอ ทั้งยังไม่วิเคราะห์หรือตั้งคำถาม เนื่องจากประเพณี สมเกียรติ อ่อนวิมล เรียกสิ่งนี้ว่า "วิกฤตเศรษฐกิจพอเพียง" คือ ความไม่รู้ว่าจะนำปรัชญานี้ไปใช้ทำอะไร กลายเป็นว่าผู้นำสังคมทุกคน ทั้งนักการเมืองและรัฐบาลใช้คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นข้ออ้างในการทำกิจกรรมใด ๆ เพื่อให้รู้สึกว่าได้สนองพระราชดำรัสและให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อตัวเอง สมเกียรติได้ให้สัมภาษณ์วิจารณ์โครงการในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ว่า "รัฐบาลยังไม่ได้ใช้อะไรเลยเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ใช้แต่พูดเหมือนคุณทักษิณ แต่คุณทักษิณพูดควบคู่กับการเอาทุนนิยม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ลงไป ซึ่งรัฐบาลนี้ต้องปรับทิศทางใหม่ เพราะรัฐบาลไม่ได้เอาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาและเป็นนโยบายทางวัฒนธรรม และสังคม" สมเกียรติยังมีความเห็นด้วยว่า ความไม่เข้าใจ นี้ อาจเกิดจากการสับสนว่าเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่นั้น เป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้มีความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการปฏิเสธอุตสาหกรรมแล้วกลับไปสู่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุด จากองค์การสหประชาชาติ (UN) โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงว่าเป็นปรัชญาที่สามารถเริ่มได้จาก การสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิก ๑๖๖ ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน
ปราสาทเขาพระวิหาร
กลายเป็นประเด็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ให้พูดถึงไม่รู้จบจริงๆ สำหรับ "เขาพระวิหาร" หรือ "ปราสาทเขาพระวิหาร" จนทำให้หลายๆ คนอยากรู้ประวัติ ว่า "เขาพระวิหาร" แห่งนี้มีความเป็นมาอย่างไร และกำลังกลายเป็นว่าที่มรดกโลกได้อย่างไร…? แล้วไทยกับกัมพูชามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับประวัติศาสตร์เขาพระวิหารแห่งนี้…วันนี้เรามีคำตอบมาเฉลยค่ะ และจะพาย้อนตำนานไปศึกษาประวัติเขาพระวิหารกัน ... อย่ารอช้ารีบตามเข้ามาเลยค่ะ
เขาพระวิหาร หรือที่หลายๆ คนรู้จักในนาม "ปราสาทเขาพระวิหาร" (Prasat Preah Vihear) และที่ประเทศกัมพูชาเรียกขานว่า "เปรี๊ยะวิเฮียร์" เป็นปราสาทหินตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ในพื้นที่ทับซ้อนชายแดนไทย-กัมพูชา ระหว่างบ้านสรายจร็อม อำเภอจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร ของประเทศกัมพูชา และบ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ใกล้ๆ กับอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
เขาพระวิหาร เป็นบริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนพื้นเมืองสมัยก่อน ในกษัตริย์ชัยวรมันที่ 2 ได้กำหนดเขตบริเวณนี้และเรียกชื่อว่า "ภวาลัย" ภายหลังปรากฏชื่อในจารึกภาษาสันสกฤตว่า "ศรีศิขรีศวร" หมายความว่า "ผู้เป็นใหญ่แห่งภูเขาอันประเสริฐ" ตั้งอยู่บนยอดเขาในเทือกเขาพนมดงรัก ตามแนวเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา จากหลักฐานต่างๆ คาดว่าสร้างในปี พ.ศ.1432-1443 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เพื่อใช้เป็นสถานที่สักการะตามความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ โดยสมมติให้เปรียบเสมือน "เขาพระสุเมรุ" (ศูนย์กลางของจักรวาล) โดยการสร้างนั้นก็มีเหตุผลในการรวบรวมอำนาจและความเชื่อของคนในละแวกนั้นเข้าด้วยกัน เพราะในอดีตแถบนั้นมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่รวมกัน พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 จึงโปรดให้สร้างเขาพระวิหารขึ้น เพื่อเป็นจุดยึดเหนี่ยวและศูนย์รวมจิตใจของ ชาวบ้านซึ่งจะทำให้การปกครองง่ายขึ้นด้วย
ปราสาทเขาพระวิหาร
"ปราสาทเขาพระวิหาร" หรือ "ปราสาทพระวิหาร" เป็นโบราณสถานที่มีความงดงาม โดดเด่นอยู่เหนือเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นพรมแดน ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชามีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 657 เมตร ปราสาทเขาพระวิหารเป็นเสมือนเทพสถิตย์บนขุนเขาหรือ "ศรีศิขเรศร" เป็น "เพชรยอดมงกุฎ" ขององค์ศิวะเทพ (พระอิศวร) ตั้งโดดเด่นอยู่บนยอดเทือกเขาพนมดงรัก มีความยาว 800 เมตร ตามแนวเหนือใต้ ส่วนใหญ่เป็นทางเข้ายาวและบันไดสูงถึงยอดเขา จนถึงส่วนปราสาทประธาน ซึ่งอยู่ที่ยอดเขาทางใต้สุดของปราสาท (สูง 120 เมตรจากปลายตอนเหนือสุดของปราสาท, 525 เมตรจากพื้นราบของกัมพูชา และ 657 เมตรจากระดับ)
ปราสาทเขาพระวิหารประกอบด้วยหมู่เทวาลัยและปราสาทหินจำนวนมาก ทั้งหมดสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ ซึ่งเทวาลัยหรือปราสาทหินแห่งแรกสร้างขึ้น เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซากปรักหักพังของเทวาลัยที่เหลืออยู่ มีอายุตั้งแต่สมัยเกาะแกร์ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ครั้น และปราสาทเขาพระวิหารเป็นสถาปัตยกรรมอันน่าทึ่ง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพชนของ "ขะแมร์กัมพูชา" (ขอม) แต่โบราณ ที่อาศัยอยู่ทั้งในกัมพูชาปัจจุบัน และในภาคอีสานของเรา ขะแมร์กัมพูชา เป็นชนชาติที่มีความสามารถยิ่งในการสร้าง "ปราสาท" ด้วยหินทรายและศิลาแลง ซึ่งขะแมร์กัมพูชาก่อสร้างปราสาทบนเขาพระวิหารติดต่อกันมายาวหลายรัชสมัย กว่า 300 ปี ตั้งแต่กษัตริย์ "ยโสวรมันที่ 1" ถึง "สุริยวรมันที่ 1" เรื่อยมาจน "ชัยวรมันที่ 5-6" จนกระทั่งท้ายสุด "สุริยวรมันที่ 2" และ "ชัยวรมันที่ 7" จากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 (หรือจากพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 18 หรือก่อนสมัยสุโขทัย 300 ปีนั่นเอง)
ทางเข้าสู่ปราสาทประธานนั้น มีโคปุระ (ซุ้มประตู) คั่นอยู่ 5 ชั้น (โคปุระชั้นที่ 5 จึงเป็นส่วนที่ผู้เข้าชมจะพบเป็นส่วนแรก) โคปุระแต่ละชั้นก่อนถึงลานด้านหน้าจะผ่านบันไดหลายขั้น โคปุระแต่ละชั้นจึงเปลี่ยนระดับความสูงทีละช่วง นอกจากนี้โคปะรุยังบังมิให้ผู้ชมเห็นส่วนถัดไปของปราสาท จนกว่าจะผ่านทะลุแต่ละช่วงไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถแลเห็นโครงสร้างปราสาททั้งหมดจากมุมใดมุมหนึ่งได้
เดิมทีปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตการปกครองของประเทศไทย ขึ้นอยู่กับบ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ (ค.ศ.1899, ร.ศ.-118) และเมื่อ พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เสด็จไปยังปราสาทแห่งนี้ และทรงขนานนามว่า "ปราสาทพรหมวิหาร" ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า "ปราสาทพระวิหาร" ซึ่งพระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า 118 สรรพสิทธิ
ต่อมาเมื่อปี 2450 จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส (ปกครองเขมรขณะนั้น) อาศัยแสนยานุภาพทางทหารบีบให้รัฐบาลสยาม (ไทย) ยอมเขียนแผนที่กำหนดให้เขาพระวิหารอยู่ในดินแดนของกัมพูชา ในการทำสนธิสัญญาเพิ่มเติม รัฐบาลสยามก็ยอมรับแผนที่ที่ฝรั่งเศษสร้างขึ้นมาแต่โดยดีโดยมิได้ทักท้วง (ซึ่งแต่เดิมถ้าแบ่งตามสันปันน้ำเทือกเขาพนมดงรัก เขาพระวิหารจะอยู่ในฝั่งไทยแต่พอแบ่งตามแผนที่ใหม่ของปี 1907จะอยู่ในฝั่งกัมพูชา) อาจจะเป็นเพราะฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจอยู่ในขณะนั้น และคนไทยก็ยังสามารถเข้าไปยังปราสาทเขาพระวิหารได้โดยง่าย
ทั้งๆ ที่ไม่ว่าจะตามสนธิสัญญาเดิม พ.ศ.2447 หรือตามสภาพภูมิศาสตร์ กำหนดให้อยู่ในดินแดนของไทยอย่างชัดเจน จนวันที่ 6 ตุลาคม 2502 รัฐบาลเจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชา ภายใต้การหนุนหลังของฝรั่งเศส ได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก ขอให้ไทยถอนกองกำลังทหารออกจากเขาพระวิหาร และขอให้ศาลชี้ขาดว่าอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารคืน (ยื่นฟ้องทั้งหมด 73 ครั้ง) ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ศาลโลกได้ตัดสินให้อธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชา ด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 เสียง โดยบริเวณดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่
ลักษณะสำคัญของปราสาทเขาพระวิหารจะประกอบด้วย...
1. บันไดดินด้านหน้าของปราสาท ซึ่งบันไดดินด้านหน้าเป็นทางเดินขึ้นลงขนาดใหญ่ อยู่ทางทิศเหนือของตัวปราสาท ลาดตามไหล่เขา บางชั้นสกัดหินลงไปในภูเขา มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 75.50 เมตร มีจำนวน162 ขั้น สองข้างบันไดมีฐานสี่เหลี่ยมตั้งเป็นกระพัก (กระพักแปลว่า ไหล่เขาเป็นชั้นพอพักได้) ขนาดใหญ่เรียงรายขึ้นไป ใช้สำหรับตั้งรูปสิงห์ทวาร-บาล (ทะ-วา-ละ-บาน) เพื่อเฝ้าดูแลรักษาเส้นทาง
2. สะพานนาคราช หรือ ลานนาคราช อยู่ทางทิศใต้ของบันไดหินด้านหน้า ปูด้วยแผ่นหินเรียบ มีขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 31.80 เมตร สองข้างสะพานนาคราชสร้างเป็นฐานเตี้ยๆ บนฐานมีนาคราช 7 เศียร จำนวน 2 ตัว แผ่พังพานหันหน้าไปทางทิศเหนือ ลำตัวอยู่บนฐานทั้งสอง ทอดไปทางทิศใต้ ส่วนหางของนาคราชชูขึ้นเล็กน้อย นาคราชทั้งสองตัวเป็นนาคราชที่ยังไม่มีรัศมีเข้ามา ประกอบมีลักษณะคล้ายๆ งูตามธรรมชาติ เป็นลักษณะของนาคราชในศิลปะขอม แบบปาปวน
3. โคปุระ (ซุ้มประตู)ชั้นที่ 5 จะมีภาพวาดโดยปามังติเอร์อยู่ สร้างเป็นศาลาจตุรมุข รูปทรงกากบาทไม่มีฝาผนังกั้น มีแต่บันไดและซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ สร้างอยู่บนฐานบัวสี่เหลี่ยมย่อมุม ฐานสูง 1.8 เมตร บันไดหน้าประตูซุ้มทั้ง 4 ทิศตั้งรูปสิงห์นั่ง เสาโคปุระสูง 3.5 เมตร เป็นศิลปะแบบเกาะแกร์ ยังมีร่องรอยสีแดงที่เคยประดับตกแต่งตัวปราสาทเอาไว้ แต่ส่วนหลังคากระเบื้องนั้นหายไปหมดแล้ว บันไดทางขึ้นโคปุระ ชั้นที่ 5 อยู่ทางทิศเหนือ เป็นบันไดหินมีลักษณะค่อนข้างชัน ทางทิศตะวันออกของโคปุระชั้นที่ 5 มีเส้นทางขึ้นคล้ายบันไดหน้าแต่ค่อนข้างชัน และชำรุดหลายตอน ยาว 340 เมตรถึงไหล่เขา
4. โคปุระ (ซุ้มประตู)ชั้นที่ 4(ปราสาทหลังที่ 2) จะภาพของการกวนเกษียณสมุทร ณ เขาพระวิหาร ถือเป็น "หนึ่งในผลงานชิ้นเอกอุของปราสาทเขาพระวิหาร" ทับหลังเป็นภาพของพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่เหนืออนันตนาคราช ซึ่งทางดำเนินจากโคปุระ ชั้นที่ 5 มาเป็นลานหินกว้างประมาณ 7 เมตร สองข้างจะมีเสานางเรียงตั้งอยู่ทั้งสองด้าน แต่ก็มีปรักหักพังไปมาก โคปุระชั้นที่ 4 สร้างเป็นศาลาจตุรมุข มีกำแพงด้านทิศใต้เพียงด้านเดียว ยาว 39 เมตรจากตะวันออกไปตะวันตก กว้าง 29.5 เมตร จากเหนือไปใต้ เป็นศิลปะสมัยหลังโคปุระ ชั้นที่ 5 คือ แคลง/บาปวน ด้านนอกตั้งรูปสิงห์ หน้าบันเป็นภาพของการกวนเกษียณสมุทร
5. โคปุระ (ซุ้มประตู) ชั้นที่ 3 (ปราสาทหลังที่ 1) เป็นโคปุระหลังที่ใหญ่โตมโหฬารที่ยังสมบูรณ์ที่สุด ลักษณะการสร้างคล้ายกับ โคปุระ ชั้นที่ 1 และ 2 แต่ผิดตรงที่มีฝาผนังกั้นล้อมรอบความใหญ่โตมากกว่า และขนาบด้วยห้องสองห้อง ตัวปราสาทประธานนั้นสามารถผ่านเข้าไปทางลานด้านหน้า บันไดกว้าง 3.6 เมตร สูง 6 เมตร สองข้างมีฐานตั้งรูปสิงห์นั่ง 5 กระพัก มุขเหนือหน้าบันเป็นรูปพระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะ ทับหลังเป็นรูปพระนารายณ์ 4 กรทรงครุฑ และจากโคปุระชั้นที่ 3 มีบันได 7 ขั้นขึ้นไปสู่ถนนที่ยาว 34 เมตร มีเสานางเรียงปักรายข้างถนน ข้างละ 9 ต้น ถัดจากเสานางเรียงไปเป็นสะพานนาค 7 เศียร
6. โคปุระ (ซุ้มประตู) ชั้นที่ 2 สร้างเป็นศาลาจตุรมุข มีกำแพงด้านทิศใต้เพียงด้านเดียวอยู่บนไหล่เขาทางทิศเหนือของโคปุระชั้นที่ 2 บริเวณพื้นราบของเส้นทางดำเนินและสองข้างทางขึ้นลงของบันได จะพบรอยสกัดลงในพื้นศิลามีลักษณะเป็นหลุมกลมๆ สำหรับใส่เสาเพื่อทำเป็นปะรำพิธี โดยมีประธานในพิธีนั่งอยู่ในปะรำพิธีเพื่อดูการร่ายรำบนเส้นทางดำเนิน กรอบประตูห้องมีจารึกอักษรขอมระบุบปีศักราชตกอยู่ในสมัยพระเจ้าสุรยวรมันที่ 1 ด้านหน้ามนเทียรมีบันไดตรงกับประตูซุ้มทั้ง 3 ประตู และมีชานต่อไปยังเฉลียงซ้ายและขวา ที่สนามด้านหน้ามีภาพจำหลักตกหล่นอยู่หลายชิ้น เช่น รูปกษัตริย์กำลังหลั่งน้ำทักษิโณฑกแก่พราหมณ์
7. โคปุระ (ซุ้มประตู) ชั้นที่ 1 สร้างเป็นศาลาจตุรมุข รูปทรงกากบาทไม่มีฝาผนังกั้น มีแต่บันไดและซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ สร้างอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม-ย่อมุม บันไดทางขึ้นโคปุระ ชั้นที่ 1 ทางทิศเหนือ เป็นบันไดหินมีลักษณะค่อนข้างชัน เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าการที่จะเข้าเฝ้าเทพนั้น จะไปด้วยอาการเคารพนพนอบในลักษณะหมอบคลานเข้าไป ทางทิศตะวันออกมีเส้นทางขึ้นคล้ายบันไดหน้าแต่ค่อนข้างชัน และชำรุดหลายตอนเป็นเส้นทางขึ้นลง ไปสู่ประเทศกัมพูชา เรียกว่า "ช่องบันไดหัก"
8. สระสรง จะอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางดำเนินห่างออกไป 12.40 เมตร จะพบสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 16.8 เมตร ยาว 37.80 เมตร กรุด้วยท่อนหินเป็นชั้นๆ มีลักษณะเป็นขั้นบันได เรียกว่าสระสรงกล่าวกันว่าใช้สำหรับเป็นที่ชำระร่างกายก่อนที่จะกระทำพิธีทางศาสนา
9. เป้ยตาดี เป้ยเป็นภาษาเขมร ซึ่งแปลว่า ชะง่อนผาหรือโพงผา ตามคำบอกเล่าว่านานมาแล้วมีพระภิกษุชรารูปหนึ่งชื่อ "ดี" จาริกมาปลูกเพิงพำนักอยู่ที่นี่จนมรณภาพไป ชาวบ้านจึงเรียกลานหินนี้ว่า "เป้ยตาดี" ซึ่งบริเวณตรงยอดเป้ยตาดีสูงกว่าระดับน้ำทะเล 657 เมตร ถ้าวัดจากพื้นที่เชิงเขาพื้นราบฝั่งประเทศกัมพูชาสูงประมาณ 447 เมตร ตรงชะง่อนผาเป้ยตาดี จะมีรอยสักพระหัตย์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ว่า 118-สรรพสิทธิ แต่ก่อนมีธงไตรรงค์ของไทยอยู่ที่บริเวณผาเป้ยตาดี ในปัจจุบันคงเหลือแต่ฐานไตรรงค์
ปราสาทเขาพระวิหารนับได้ว่าเป็นปราสาทขอมที่สำคัญแห่งหนึ่ง ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์การก่อสร้างเทวสถานของฮินดู และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งของไทยและกัมพูชาอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร มีเนื้อที่ 81,250 ไร่ และได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2541 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทย
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวการเสนอให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ก็ยังเป็นข้อกังขาของคนไทยหลายๆ คน เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ นานา กลายเป็นประเด็นท็อปฮิตในขณะนี้ และล่าสุดศาลปกครองกลาง ยังได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ระงับมติคณะรัฐมนตรี ที่นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรี ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทย-กัมพูชา ในการที่กัมพูชาจะขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ซึ่งบทสรุปเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรต่อไปนั้นเราคนไทยคงต้องติดตามกัน
วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554
แคน
ประวัติความเป็นมาของแคน
แคน เป็นชื่อเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ แคนเป็น เครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป่าให้เป็นเพลง ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้ แต่ก็มีประวัติที่เล่า เป็นนิยายปรัมปราสืบต่อกันมา ดังต่อไปนี้
หญิงหม้ายผู้คิดประดิษฐ์ทำแคน
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพรานคนหนึ่งได้ไปเที่ยวล่าเนื้อในป่า เขาได้ยินเสียงนกกรวิก (นกการเวก) ร้องไพเราะจับใจมาก เมื่อกลับมาจากป่าถึงบ้าน จึงได้เล่าเรื่องที่ตัวเองไปได้ยินเสียง นกกรวิกร้องด้วยเสียงไพเราะนั้นให้แก่ชาวบ้านเพื่อนฝูงฟัง ในจำนวนผู้ที่มาฟังเรื่องดังกล่าวนี้ มีหญิงหม้ายคนหนึ่ง เกิดความกระหายใคร่อยากจะฟังเสียงร้องของนกกรวิกยิ่งนัก จึงได้พูดขอร้องให้นายพรานล่าเนื้อ อนุญาตให้ตนติดตามไปในป่าด้วย เพื่อจะได้ฟังเสียงร้องของนก ตามที่นายพรานได้เล่าให้ฟังในวันต่อมา
ครั้นเมื่อนายพรานล่าเนื้อได้พาหญิงหม้ายดั้นด้นไปถึงในป่า จนถึงถิ่นที่นกกรวิก และนกเหล่านั้นก็กำลังส่งเสียงร้องตามปกติวิสัยของมัน นายพรานก็ได้กล่าวเตือน หญิงหม้ายให้เงี่ยหูฟังว่า
"นกกรวิกกำลังร้องเพลงอยู่ สูเจ้าจงฟังเอาเถอะ เสียงมันออนซอนแท้ แม่นบ่"
หญิงหม้ายผู้นั้น ได้ตั้งใจฟังด้วยความเพลิดเพลิน และติดอกติดใจในเสียงอันไพเราะ ของนกนั้นเป็นยิ่งนัก ถึงกับคลั่งไคล้ใหลหลง รำพึงอยู่ในใจตนเองว่า
"เฮ็ดจั่งได๋นอ จั่งสิได้ฟังเสียงอันไพเราะ ม่วนชื่น จับใจอย่างนี้ตลอดไป ครั้นสิคอยเฝ้า ฟังเสียงนกในถิ่นของมัน ก็เป็นแดนดงแสนกันดาร อาหารก็หายาก หมากไม้ก็บ่มี" จึงได้คิดตัดสิน แน่วแน่ในใจตนเองว่า
"เฮาสิต้องคิดทำเครื่องบังเกิดเสียง ให้มีเสียงเสนาะ ไพเราะออนซอนจับใจ ดุจดังเสียง นกกรวิกนี้ให้จงได้"
เมื่อหญิงหม้ายกลับมาถึงบ้าน ก็ได้คิดอ่านทำเครื่องดนตรีต่าง ๆ ทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า หลาย ๆ อย่าง ก็ไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใด มีเสียงไพเราะวิเวกหวานเหมือนเสียงนกกรวิก ในที่สุดนาง ได้ไปตัดไม้ไผ่น้อยชนิดหนึ่ง เอามาประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง แล้วลองเป่าดูก็รูสึก ค่อนข้างไพเราะ จึงได้พยายามดัดแปลงแก้ไขอีกหลายครั้งหลายครา จนกระทั่งเกิดเป็นเสียงและ ท่วงทำนองอันไพเราะเหมือนเสียงนกกรวิก
จนในที่สุด เมื่อได้แก้ไขครั้งสุดท้ายแล้วลองเป่าก็รู้สึก ไพเราะออนซอนดีแท้ จึงคิดที่จะไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้ทรงทราบ ก่อนที่จะได้เข้าเฝ้า นางก็ได้เพียรพยายามปรับปรุงแก้ไขเสียงดนตรีของนางให้ดีขึ้นกว่า เดิม และยังได้ฝึกหัดเป่าเป็นท่วงทำนองต่าง ๆ จนมีความชำนาญเป็นอย่างดี
ครั้นถึงกำหนดวันเข้าเฝ้า นางก็ได้เป่าดนตรีจากเครื่องมือที่นางได้คิดประดิษฐ์ขึ้นนี้ ถวาย เมื่อเพลงแรกจบลง นางจึงได้ทูลถามว่า "เป็นจั๋งได๋ ม่วนบ่ ข้าน้อย"
พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ตรัสตอบว่า "เออ พอฟังอยู่"
นางจึงได้เป่าถวายซ้ำอีกหลายเพลง ตามท่วงทำนองเลียนเสียงนกกรวิกนั้น เมื่อจบถึง เพลงสุดท้าย พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงตรัสว่า "เทื่อนี่ แคนแด่" (ครั้งนี้ ดีขึ้นหน่อย)
หญิงหม้าย เจ้าของเครื่องดนตรี จึงทูลถามว่า "เครื่องดนตรีอันนี่ ควรสิเอิ้นว่าจั่งได๋ ข้าน้อย" (เครื่องดนตรีนี้ ควรจะเรียกว่าอย่างไร พระเจ้าข้า)
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงตรัสว่า "สูจงเอิ้นดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำเว้าของเฮา อันท้ายนี้ สืบไปเมื่อหน้าเทอญ" (เจ้าจงเรียกดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำพูดของเราตอนท้ายนี้ ต่อไปภายหน้าเถิด)
ด้วยเหตุนี้ เครื่องดนตรีที่หญิงหม้ายประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่น้อยมาติดกันใช้ปากเป่า จึงได้ชื่อว่า "แคน" มาตราบเท่าทุกวันนี้
นี่เป็นเพียงนิทานปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน
บางท่านก็สันนิษฐานว่า คำว่า "แคน" คงจะเรียกตามเสียงเครื่องดนตรีที่ดังออกมาว่า "แคนแล่นแคน แล่นแคน แล่นแคน" ซึ่งเป็นเสียงที่ดังออกมาจากการเป่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ แต่ บางคนก็มีความเห็นว่า คำว่า "แคน" คงเรียกตามไม้ที่ใช้ทำเต้าแคน กล่าวคือ ไม้ที่นำมาเจาะใช้ ทำเต้าแคนรวมเสียงจากไม้ไผ่น้อยหลาย ๆ ลำนั้น เขานิยมใช้ไม้ตะเคียน ซึ่งภาษาท้องถิ่นทางภาค อีสานเรียกว่า "ไม้แคน" แต่บางท่านก็ให้ความเห็นที่แตกต่างกันออกไป
แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าคิดอยู่บ้างคือ "แคน" นี้น่าจะทำขึ้นโดยผู้หญิง ซ้ำยังเป็น "หญิงหม้าย" เสียด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่า ส่วนประกอบที่ใช้ทำแคนอันสำคัญคือส่วนที่ใช้ปากเป่า ยังเรียกว่า "เต้า แคน" และมีลักษณะรูปร่างเป็นกระเปาะคล้าย "เต้านม" ของสตรีอีกด้วย ทั้งการเป่าแคนก็ใช้วิธี เป่าและดูด จนสามารถทำให้เกิดเสียงอันไพเราะ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลสนับสนุนอีกข้อคือ คำที่เป็นลักษณะนามเรียกชื่อ และจำนวนของแคนก็ใช้คำว่า "เต้า" แทนคำว่า อัน หรือ ชิ้น ฯลฯ ดังนี้ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เสียงของแคนเป็นเสียงที่ไพเราะอ่อนหวาน ซาบซึ้งเหมือนเสียงนกการเวก ตาม นิทานเรื่องดังกล่าว เหมือนเสียงของหญิงหม้ายที่ว้าเหว่เดียวดาย ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่า "หญิงหม้าย" เป็นผู้ประดิษฐ์คิดทำแคนขึ้นเป็นคนแรก จึงเป็นเหตุผลที่น่ารับฟังได้มากพอสมควรทีเดียว
ลักษณะของแคนมีสองชนิด คือ แคนน้อย (ยาวศอก คืบ ยาวสองศอก ยาวสองศอกคืบ) และแคนใหญ่ (ยาวสามศอก ยาวสามศอกคืบ สี่ศอก สี่ศอกคืบ) ที่เคยใช้ในปัจจุบัน แต่ที่เคยมี ยาวถึงหกศอก แคนสองขนาดนี้แบ่งเป็นสองอย่าง คือ แคนเจ็ด และแคนแปด แคนเจ็ดนั้นมีลูกเจ็คู่ ส่วนแคนแปดนั้นมีลูกแปดคู่
ส่วนแคนของเผ่าลาวลุ่มนั้นมีหกคู่ และแคนของเผ่าลาวสูงมีแค่สามคู่เท่านั้น และใช้ท่อต่อเต้าสำหรับการเป่าตามธรรมดา
แคนลาวสูง ลาวลุ่ม ลาวเทิง
"แคน" ทำด้วยไม้อ้อ หรือไม้เหี้ยน้อย แต่เดี๋ยวนี้ไม้อ้อหาได้ยาก เขาจึงทำแคนด้วยไม้เหี้ยน้อย และจะต้องหาให้ได้ขนาดเท่านิ้วมือจึงจะใช้ได้ นอกจากไม้เหี้ยน้อย ซึ่งทำเป็นลูกแคนยาวลดหลั่นกันตามลำดับ 7 คู่ หรือ 8 คู่ ประกอบเข้ากันกับเต้า ติดสูด (ขี้สูด) ข้างบนและข้างล่างเต้า เพื่อไม่ให้ลมเป่าเข้าสูบออกรั่ว แล้วยังมีลิ้นแคน รูแพว และรูนับเสียงเป็นสิ่งสำคัญด้วย ข้างในของแต่ละลำไม้ลูกแคนประกอบด้วยลิ้นแคนหนึ่งอันที่มีหนึ่งเสียง และจะต้องเจาะรูแพวให้ถูกตามเสียงเสมอ วิธีเป่าแคนลาวลุ่มก็เหมือนกับการเป่าแคนลาวเทิง หรือ ลาวสูง คือจะต้องใช้อุ้งมือทั้งสองข้าง อุ้มเต้าแคนไว้แล้ว เป่าหรือดูดสูบลมที่รูเต้า ส่วนนิ้วมือก็นับไล่ตามเสียงไปด้วย
แคน เป็นชื่อเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ แคนเป็น เครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป่าให้เป็นเพลง ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้ แต่ก็มีประวัติที่เล่า เป็นนิยายปรัมปราสืบต่อกันมา ดังต่อไปนี้
หญิงหม้ายผู้คิดประดิษฐ์ทำแคน
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพรานคนหนึ่งได้ไปเที่ยวล่าเนื้อในป่า เขาได้ยินเสียงนกกรวิก (นกการเวก) ร้องไพเราะจับใจมาก เมื่อกลับมาจากป่าถึงบ้าน จึงได้เล่าเรื่องที่ตัวเองไปได้ยินเสียง นกกรวิกร้องด้วยเสียงไพเราะนั้นให้แก่ชาวบ้านเพื่อนฝูงฟัง ในจำนวนผู้ที่มาฟังเรื่องดังกล่าวนี้ มีหญิงหม้ายคนหนึ่ง เกิดความกระหายใคร่อยากจะฟังเสียงร้องของนกกรวิกยิ่งนัก จึงได้พูดขอร้องให้นายพรานล่าเนื้อ อนุญาตให้ตนติดตามไปในป่าด้วย เพื่อจะได้ฟังเสียงร้องของนก ตามที่นายพรานได้เล่าให้ฟังในวันต่อมา
ครั้นเมื่อนายพรานล่าเนื้อได้พาหญิงหม้ายดั้นด้นไปถึงในป่า จนถึงถิ่นที่นกกรวิก และนกเหล่านั้นก็กำลังส่งเสียงร้องตามปกติวิสัยของมัน นายพรานก็ได้กล่าวเตือน หญิงหม้ายให้เงี่ยหูฟังว่า
"นกกรวิกกำลังร้องเพลงอยู่ สูเจ้าจงฟังเอาเถอะ เสียงมันออนซอนแท้ แม่นบ่"
หญิงหม้ายผู้นั้น ได้ตั้งใจฟังด้วยความเพลิดเพลิน และติดอกติดใจในเสียงอันไพเราะ ของนกนั้นเป็นยิ่งนัก ถึงกับคลั่งไคล้ใหลหลง รำพึงอยู่ในใจตนเองว่า
"เฮ็ดจั่งได๋นอ จั่งสิได้ฟังเสียงอันไพเราะ ม่วนชื่น จับใจอย่างนี้ตลอดไป ครั้นสิคอยเฝ้า ฟังเสียงนกในถิ่นของมัน ก็เป็นแดนดงแสนกันดาร อาหารก็หายาก หมากไม้ก็บ่มี" จึงได้คิดตัดสิน แน่วแน่ในใจตนเองว่า
"เฮาสิต้องคิดทำเครื่องบังเกิดเสียง ให้มีเสียงเสนาะ ไพเราะออนซอนจับใจ ดุจดังเสียง นกกรวิกนี้ให้จงได้"
เมื่อหญิงหม้ายกลับมาถึงบ้าน ก็ได้คิดอ่านทำเครื่องดนตรีต่าง ๆ ทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า หลาย ๆ อย่าง ก็ไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใด มีเสียงไพเราะวิเวกหวานเหมือนเสียงนกกรวิก ในที่สุดนาง ได้ไปตัดไม้ไผ่น้อยชนิดหนึ่ง เอามาประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง แล้วลองเป่าดูก็รูสึก ค่อนข้างไพเราะ จึงได้พยายามดัดแปลงแก้ไขอีกหลายครั้งหลายครา จนกระทั่งเกิดเป็นเสียงและ ท่วงทำนองอันไพเราะเหมือนเสียงนกกรวิก
จนในที่สุด เมื่อได้แก้ไขครั้งสุดท้ายแล้วลองเป่าก็รู้สึก ไพเราะออนซอนดีแท้ จึงคิดที่จะไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้ทรงทราบ ก่อนที่จะได้เข้าเฝ้า นางก็ได้เพียรพยายามปรับปรุงแก้ไขเสียงดนตรีของนางให้ดีขึ้นกว่า เดิม และยังได้ฝึกหัดเป่าเป็นท่วงทำนองต่าง ๆ จนมีความชำนาญเป็นอย่างดี
ครั้นถึงกำหนดวันเข้าเฝ้า นางก็ได้เป่าดนตรีจากเครื่องมือที่นางได้คิดประดิษฐ์ขึ้นนี้ ถวาย เมื่อเพลงแรกจบลง นางจึงได้ทูลถามว่า "เป็นจั๋งได๋ ม่วนบ่ ข้าน้อย"
พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ตรัสตอบว่า "เออ พอฟังอยู่"
นางจึงได้เป่าถวายซ้ำอีกหลายเพลง ตามท่วงทำนองเลียนเสียงนกกรวิกนั้น เมื่อจบถึง เพลงสุดท้าย พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงตรัสว่า "เทื่อนี่ แคนแด่" (ครั้งนี้ ดีขึ้นหน่อย)
หญิงหม้าย เจ้าของเครื่องดนตรี จึงทูลถามว่า "เครื่องดนตรีอันนี่ ควรสิเอิ้นว่าจั่งได๋ ข้าน้อย" (เครื่องดนตรีนี้ ควรจะเรียกว่าอย่างไร พระเจ้าข้า)
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงตรัสว่า "สูจงเอิ้นดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำเว้าของเฮา อันท้ายนี้ สืบไปเมื่อหน้าเทอญ" (เจ้าจงเรียกดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำพูดของเราตอนท้ายนี้ ต่อไปภายหน้าเถิด)
ด้วยเหตุนี้ เครื่องดนตรีที่หญิงหม้ายประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่น้อยมาติดกันใช้ปากเป่า จึงได้ชื่อว่า "แคน" มาตราบเท่าทุกวันนี้
นี่เป็นเพียงนิทานปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน
บางท่านก็สันนิษฐานว่า คำว่า "แคน" คงจะเรียกตามเสียงเครื่องดนตรีที่ดังออกมาว่า "แคนแล่นแคน แล่นแคน แล่นแคน" ซึ่งเป็นเสียงที่ดังออกมาจากการเป่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ แต่ บางคนก็มีความเห็นว่า คำว่า "แคน" คงเรียกตามไม้ที่ใช้ทำเต้าแคน กล่าวคือ ไม้ที่นำมาเจาะใช้ ทำเต้าแคนรวมเสียงจากไม้ไผ่น้อยหลาย ๆ ลำนั้น เขานิยมใช้ไม้ตะเคียน ซึ่งภาษาท้องถิ่นทางภาค อีสานเรียกว่า "ไม้แคน" แต่บางท่านก็ให้ความเห็นที่แตกต่างกันออกไป
แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าคิดอยู่บ้างคือ "แคน" นี้น่าจะทำขึ้นโดยผู้หญิง ซ้ำยังเป็น "หญิงหม้าย" เสียด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่า ส่วนประกอบที่ใช้ทำแคนอันสำคัญคือส่วนที่ใช้ปากเป่า ยังเรียกว่า "เต้า แคน" และมีลักษณะรูปร่างเป็นกระเปาะคล้าย "เต้านม" ของสตรีอีกด้วย ทั้งการเป่าแคนก็ใช้วิธี เป่าและดูด จนสามารถทำให้เกิดเสียงอันไพเราะ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลสนับสนุนอีกข้อคือ คำที่เป็นลักษณะนามเรียกชื่อ และจำนวนของแคนก็ใช้คำว่า "เต้า" แทนคำว่า อัน หรือ ชิ้น ฯลฯ ดังนี้ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เสียงของแคนเป็นเสียงที่ไพเราะอ่อนหวาน ซาบซึ้งเหมือนเสียงนกการเวก ตาม นิทานเรื่องดังกล่าว เหมือนเสียงของหญิงหม้ายที่ว้าเหว่เดียวดาย ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่า "หญิงหม้าย" เป็นผู้ประดิษฐ์คิดทำแคนขึ้นเป็นคนแรก จึงเป็นเหตุผลที่น่ารับฟังได้มากพอสมควรทีเดียว
ลักษณะของแคนมีสองชนิด คือ แคนน้อย (ยาวศอก คืบ ยาวสองศอก ยาวสองศอกคืบ) และแคนใหญ่ (ยาวสามศอก ยาวสามศอกคืบ สี่ศอก สี่ศอกคืบ) ที่เคยใช้ในปัจจุบัน แต่ที่เคยมี ยาวถึงหกศอก แคนสองขนาดนี้แบ่งเป็นสองอย่าง คือ แคนเจ็ด และแคนแปด แคนเจ็ดนั้นมีลูกเจ็คู่ ส่วนแคนแปดนั้นมีลูกแปดคู่
ส่วนแคนของเผ่าลาวลุ่มนั้นมีหกคู่ และแคนของเผ่าลาวสูงมีแค่สามคู่เท่านั้น และใช้ท่อต่อเต้าสำหรับการเป่าตามธรรมดา
แคนลาวสูง ลาวลุ่ม ลาวเทิง
"แคน" ทำด้วยไม้อ้อ หรือไม้เหี้ยน้อย แต่เดี๋ยวนี้ไม้อ้อหาได้ยาก เขาจึงทำแคนด้วยไม้เหี้ยน้อย และจะต้องหาให้ได้ขนาดเท่านิ้วมือจึงจะใช้ได้ นอกจากไม้เหี้ยน้อย ซึ่งทำเป็นลูกแคนยาวลดหลั่นกันตามลำดับ 7 คู่ หรือ 8 คู่ ประกอบเข้ากันกับเต้า ติดสูด (ขี้สูด) ข้างบนและข้างล่างเต้า เพื่อไม่ให้ลมเป่าเข้าสูบออกรั่ว แล้วยังมีลิ้นแคน รูแพว และรูนับเสียงเป็นสิ่งสำคัญด้วย ข้างในของแต่ละลำไม้ลูกแคนประกอบด้วยลิ้นแคนหนึ่งอันที่มีหนึ่งเสียง และจะต้องเจาะรูแพวให้ถูกตามเสียงเสมอ วิธีเป่าแคนลาวลุ่มก็เหมือนกับการเป่าแคนลาวเทิง หรือ ลาวสูง คือจะต้องใช้อุ้งมือทั้งสองข้าง อุ้มเต้าแคนไว้แล้ว เป่าหรือดูดสูบลมที่รูเต้า ส่วนนิ้วมือก็นับไล่ตามเสียงไปด้วย
ประเพณีบุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือประเพณียิงจรวดไทยขอฝนนี้ ความจริงไม่ใช่ประเพณีเฉพาะของชาวเมืองยโสธร แต่เป็นฮีด(จารีต)สำคัญ ฮีดหนึ่งของชาวอีสานทั่วทั้งภูมิภาค หากแต่ชาวยโสธรโยเฉพาะชาวคุ้มบ้านต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมืองนั้นให้ความสำคัญ และร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานอย่างแข็งขัน จนทำให้ประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และในที่สุดด้วยความช่วยเหลือจากภาครัฐและเอกชนอีกหลาย ๆ ส่วน
บุญบั้งไฟยโสธร จึงเลื่อนฐานะขึ้นเป็นประเพณีสำคัญของประเทศ เป็นตัวแทนจากภาคอีสานที่เชิดหน้าชูตาในด้านวัฒนธรรมประเพณีของชาติ
รูปแบบประเพณี
ในวันนี้ ประเพณีบุญบั้งไฟ แบ่งงานออกเป็นงานใหญ่ ๆ สองงานด้วยกันคือวันแรก เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 10.00 น. เป็นขบวนแห่บั้งไฟสวยงามไปตามถนนสายหลักใจกลางเมือง
ในวันนี้ชาวบ้านจากคุ้มต่าง ๆ จะนำบั้งไฟขึ้นขบวนรถที่ตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามเป็นลวดลายไทยงามวิจิตร นำแห่แหนด้วยขบวนรำประกอบดนตรีพื้นเมือง บนขบวนรถบางทีจะเป็นธิดาบั้งไฟโก้ เทพบุตรเทพธดาตัวน้อย ๆ หรือแม้กระทั่งเรื่องราวจำลองจากนิยายพื้นบ้านปรัมปรา เช่นเรื่องท้าวผาแดง นางไอ่ เป็นต้น นอกจากนี้ที่จะขาดไม่ได้ก็คือขบวนรีวิวประเภทเนื้อหาสาระและตลกขบขันต่าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้ชาวเมืองที่ต่างอายุกันได้มีโอกาสเข้าร่วมงานอย่างเสมอหน้าและ มาประกวดประชันกันอย่งสนุกสนาน
ส่วนวันที่สองเริ่มแต่เช้าที่สวนพญาแถนเป็นการประกวดการจุดบั้งไฟ มีการประกวดบั้งไฟขึ้นสูงแบะยั้งไฟแฟนซีต่าง ๆ ในขณะที่ชาวบ้านชาวคุ้มต่าง ๆ ก็จะยกขบวนออกร้องรำทำเพลงกันตลอดทั้งวันอย่างสนุกสนาน
จุดเด่นของพิธีกรรม
จุดเด่นของการชมประเพณีบุญบั้งไฟ อยู่ที่ช่วงเช้าของวันแรกคือวันแห่บั้งไฟสวยงาม สามารถชมได้ที่ปะรำพอธีถนนใจกลางเมือง และช่วงเช้าวันที่สอง คือการจุดบั้งไฟขึ้นสูงที่สวนสาธารณะพญาแถน
ตำนานเรื่องเล่า
ตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟ ผูกพันกับนิทานพื้นบ้านสองเรื่องคือเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่ และเรื่องสงครามระหว่างพญาคันคากกับพญาแถน ซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงที่มาของการยิงบั้งไฟเลยทีเดียว
ตำนานเรื่องนี้เริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ครั้งนั้น พญาแถน เทพผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ผู้ดลบันดาลให้ฝนตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตกเลยตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ชาวเมืองทนไม่ไหวจึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนกับกองทัพเทวดาไม่ได้ ถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคันคากอาศัยอยู่
ในที่สุดพญาคันคากตกลงใจเป็นจอมทัพของชาวโลกต่อสู้กับพญาแถน
พญาคันคากให้พญาปลวกก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงสวรรค์ ให้พญามอดไม้ไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถน และให้พญาผึ้ง ต่อ แตนไปต่อยทหารและพญาแถนฝ่ายเทวดาพ่ายแพ้ พญาแถนจึงให้คำมั่นยีร หากมนุษย์ยิงบั้งไฟขึ้นไปเตือนเมื่อไรจะรีบบันดาลให้ฝนตกลงมาให้ทันทีและถ้ากบเขียดร้องก็ถือเป็นสัญญาณว่าฝนได้ตกลงถึงพื้นแล้ว
และเมื่อใดที่ชาวเมืองเล่นว่าวก็เป็นสัญญานแห่งการหมดสิ้นฤดูฝน พญาแถนก็บันดาลให้ฝนหยุดตก
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน
ดนตรีอีสาน
เป็นดนตรีระดับพื้นบ้าน เข้าถึงชีวิตชาวบ้าน สืบทอดพัฒนาโดยชาวบ้าน จนได้ชื่อว่าเป็นดนตรีพื้นบ้านอีสาน ที่เข้าถึงชีวิต จิตใจ กล่อมเกลาจิตใจ ตลอดถึง ให้ความสนุกสนาน บันเทิง แก่ชาวอีสาน มาช้านาน เครื่องดนตรีบางอย่าง ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้น และกำเนิดขึ้นในยุคสมัยไหน แต่เครื่องดนตรีทั้งหลาย ก็ยังมีการสืบทอด ปรับปรุง พัฒนา และเผยแพร่ให้คงอยู่ตราบปัจจุบัน ดนตรีพื้นบ้านอีสาน จำแนกเป็นหมวดหมู่ได้หลายรูปแบบ ดังนี้
จำแนกตามลักษณะวิธีเล่น
๑ ประเภทเครื่องดีด - พิณ- หึน หรือ หืน
๒ ประเภทเครื่องเป่า - แคน - โหวด- ปี่กูแคน หรือ ปี่ภูไท
๓ ประเภทเครื่องตี หรือ เคาะ - โปงลาง - กลอง - กั๊บแก๊บ - ฆ้องโหม่ง- ฉิ่ง - ฉาบ
๔ ประเภทเครื่องสี - ซอ
๕ ประเภทเครื่องดึง - ไหซอง
จำแนกตามวัตถุประสงค์การบรรเลง
๑ ประเภทบรรเลงทำนอง - แคน- พิณ - ซอ - โหวด - โปงลาง - ปี่กู่แคน หรือ ปี่ภูไท - หึน หรือ หืน
๒ ประเภทให้จังหวะ- กลอง - กั๊บแก๊บ - ฆ้องโหม่ง- ฉิ่ง - ฉาบ - ไหซอง
ดนตรีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการฟ้อนซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะดนตรีนอกจากจะให้การฟ้อนเกิดความพร้อมเพรียงกันแล้ว ดนตรียังเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้ฟ้อนรู้สึกต้องการฟ้อนและฟ้อนอย่างมีความสุข ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนมีตั้งแต่ดนตรีชิ้นเดียวอย่างเสียงกระทบของสาก เสียงกลอง จนถึงการผสมวงมีเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นประกอบกัน ดนตรีอีสานแบ่งออกตามกลุ่มวัฒนธรรมดังนี้
วัฒนธรรมกลุ่มอีสานเหนือ วัฒนธรรมกลุ่มอีสานเหนือ หรือกลุ่มไทยลาว หรือกลุ่มหมอลำหมอแคน ซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมมาจากลุ่มแม่น้ำโขง เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มีหลายประเภท ถ้าแบ่งประเภทโดยยึดการใช้หรือการเล่นดนตรีนั้นๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า
วัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้ วัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมมาจากเขมร-ส่วย หรือกลุ่มเจรียง-กันตรึม และกลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือกลุ่มเพลงโคราช ในที่นี้จะเน้นเฉพาะกลุ่มเจรียง-กันตรึม ซึ่งแบ่งประเภทเป็นสี่ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า
ลักษณะและโอกาสในการบรรเลงดนตรี
ลักษณะและโอกาสในการบรรเลงดนตรีของกลุ่มหมอลำ พอจะแบ่งออกได้เป็น 2ลักษณะ คือ
-การบรรเลงดนตรีเพื่อประกอบพิธีกรรม ได้แก่ การสูตรขวัญ การลำผีฟ้า เป็นต้น
-การบรรเลงดนตรีเพื่อความบันเทิง ได้แก่ การลำ การเป่าแคน การดีดพิณ เป็นต้น
การบรรเลงดนตรีเพื่อความบันเทิงนี้ ยังแบ่งออกเป็นความบันเทิงส่วนตัว และความบันเทิงระหว่างเพื่อนฝูง เช่น การบรรเลงตามหมู่บ้านยามค่ำคืน กับ การบรรเลงเพื่อความบันเทิงแก่สาธารณชน เช่น การแสดงที่ได้รับการว่าจ้างตามงานบุญต่าง
เป็นดนตรีระดับพื้นบ้าน เข้าถึงชีวิตชาวบ้าน สืบทอดพัฒนาโดยชาวบ้าน จนได้ชื่อว่าเป็นดนตรีพื้นบ้านอีสาน ที่เข้าถึงชีวิต จิตใจ กล่อมเกลาจิตใจ ตลอดถึง ให้ความสนุกสนาน บันเทิง แก่ชาวอีสาน มาช้านาน เครื่องดนตรีบางอย่าง ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้น และกำเนิดขึ้นในยุคสมัยไหน แต่เครื่องดนตรีทั้งหลาย ก็ยังมีการสืบทอด ปรับปรุง พัฒนา และเผยแพร่ให้คงอยู่ตราบปัจจุบัน ดนตรีพื้นบ้านอีสาน จำแนกเป็นหมวดหมู่ได้หลายรูปแบบ ดังนี้
จำแนกตามลักษณะวิธีเล่น
๑ ประเภทเครื่องดีด - พิณ- หึน หรือ หืน
๒ ประเภทเครื่องเป่า - แคน - โหวด- ปี่กูแคน หรือ ปี่ภูไท
๓ ประเภทเครื่องตี หรือ เคาะ - โปงลาง - กลอง - กั๊บแก๊บ - ฆ้องโหม่ง- ฉิ่ง - ฉาบ
๔ ประเภทเครื่องสี - ซอ
๕ ประเภทเครื่องดึง - ไหซอง
จำแนกตามวัตถุประสงค์การบรรเลง
๑ ประเภทบรรเลงทำนอง - แคน- พิณ - ซอ - โหวด - โปงลาง - ปี่กู่แคน หรือ ปี่ภูไท - หึน หรือ หืน
๒ ประเภทให้จังหวะ- กลอง - กั๊บแก๊บ - ฆ้องโหม่ง- ฉิ่ง - ฉาบ - ไหซอง
ดนตรีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการฟ้อนซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะดนตรีนอกจากจะให้การฟ้อนเกิดความพร้อมเพรียงกันแล้ว ดนตรียังเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้ฟ้อนรู้สึกต้องการฟ้อนและฟ้อนอย่างมีความสุข ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนมีตั้งแต่ดนตรีชิ้นเดียวอย่างเสียงกระทบของสาก เสียงกลอง จนถึงการผสมวงมีเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นประกอบกัน ดนตรีอีสานแบ่งออกตามกลุ่มวัฒนธรรมดังนี้
วัฒนธรรมกลุ่มอีสานเหนือ วัฒนธรรมกลุ่มอีสานเหนือ หรือกลุ่มไทยลาว หรือกลุ่มหมอลำหมอแคน ซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมมาจากลุ่มแม่น้ำโขง เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มีหลายประเภท ถ้าแบ่งประเภทโดยยึดการใช้หรือการเล่นดนตรีนั้นๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า
วัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้ วัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมมาจากเขมร-ส่วย หรือกลุ่มเจรียง-กันตรึม และกลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือกลุ่มเพลงโคราช ในที่นี้จะเน้นเฉพาะกลุ่มเจรียง-กันตรึม ซึ่งแบ่งประเภทเป็นสี่ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า
ลักษณะและโอกาสในการบรรเลงดนตรี
ลักษณะและโอกาสในการบรรเลงดนตรีของกลุ่มหมอลำ พอจะแบ่งออกได้เป็น 2ลักษณะ คือ
-การบรรเลงดนตรีเพื่อประกอบพิธีกรรม ได้แก่ การสูตรขวัญ การลำผีฟ้า เป็นต้น
-การบรรเลงดนตรีเพื่อความบันเทิง ได้แก่ การลำ การเป่าแคน การดีดพิณ เป็นต้น
การบรรเลงดนตรีเพื่อความบันเทิงนี้ ยังแบ่งออกเป็นความบันเทิงส่วนตัว และความบันเทิงระหว่างเพื่อนฝูง เช่น การบรรเลงตามหมู่บ้านยามค่ำคืน กับ การบรรเลงเพื่อความบันเทิงแก่สาธารณชน เช่น การแสดงที่ได้รับการว่าจ้างตามงานบุญต่าง
วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554
โคนม
การผสมเทียมโค ( Artificial Insemination in Cattle )
ประวัติการผสมเทียม รายงานแรกสุดของการผสมเทียมมีบันทึกไว้ในปี ค.ศ.1780 ในประเทศอิตาลี เป็นการผสมเทียมในสุนัข จากรายงานนี้มาจนถึงปี ค.ศ.1900 ได้มีการพยายามใช้เทคนิคการผมสมเทียม (artificial insemination ; AI) มาประยุกต์ใช้ในปศุสัตว์ โดยปี ค.ศ.1930 นักวิจัยประเทศรัสเซีย lvanov และคณะ ประสบความสำเร็จในการผสมเทียมโคและแกะ หลังจากนี้การผสมเทียมได้รับการพัฒนาและถูกนำไปใช้อย่างมากโดยให้บริการเป็นรูปแบบการค้ามากขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร(ประเทศอังกฤษ)...
พันธุ์โคนมที่สำคัญ
พันธุ์โคนมที่ถือกันว่าเป็นพันธุ์หลักมีอยู่ 5 พันธุ์ด้วยกัน คือ แอร์ไซร์ ( Ayrshire ), บราวน์สวิส ( Brown Swiss ), เกิร์นซี ( Guernsey ), โฮลสไตน์ ฟรีเซียน ( Holstein-Friesian ), และเจอร์ซี ( Jersey
แอร์ไซร์ ( Ayrshire )
ถิ่นกำเนิด สก๊อตแลนด์
ลักษณะสำคัญ เป็นโคที่แข็งแรง แทะเล็มหญ้าเก่ง แม่โคโตเต็มที่หนักประมาณ 544 กก. พ่อโคหนักประมาณ 861 กก. มีสีขาว - น้ำตาลแดง เขามีลักษณะโค้งและกางออก
พันธุ์แอร์ไซร์จัดเป็นพันธุ์ที่ให้นมสูงในลำดับที่สามระหว่างพันธุ์โคนมด้วยกันปริมาณน้ำนมโดยเฉลี่ยประมาณ 5,307 กก./ปี เปอร์เซ็นต์ไขมันนมประมาณ ร้อยละ 4 จัดเป็นลำดับที่สี่ในกลุ่มพันธุ์หลัก
บราวน์สวิส ( Brown Swiss )
ถิ่นกำเนิด สวิสเซอร์แลนด์
ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลล้วน จมูกและลิ้นมีสำดำ เขาโค้งมาด้านหน้าชี้ขึ้น บราวน์สวิสเป็นโคที่มีโครงร่างใหญ่ ตัวเมียโตเต็มที่ประมาณ 680 กก. ส่วนตัวผู้หนักประมาณ 907 กก. โคตัวเมียเป็นสาวช้า กว่าพันธุ์อื่นๆ พันธุ์นี้ทนร้อนได้ดี นิยมนำพ่อโคผสมกับแม่โคเนื้อเพื่อได้ลูก ผสมสำหรับขุน
บราวน์สวิสจัดเป็นโคที่ให้นมสูงเป็นลำดับสองรองลงมาจากโคพันธุ์โฮลสไตน์-ฟรีเซียน ค่าเฉลี่ยของการให้นมประมาณ 5,488 กก./ปี ไขมันนมประมาณร้อยละ 4.1 จัดเป็นลำดับที่สามในกลุ่มพันธุ์โคนมหลัก
เจอร์ซี ( Jersey )
ถิ่นกำเนิด เกาะเจอร์ซี บริเวณช่องแคบอังกฤษ
ลักษณะที่สำคัญ มีสีครีมไปจนสีน้ำตาลเหลืองออกไปทางดำก็มี เนื้อ จมูก (muzzle) มีสีีดำ จัดเป็นโคนมพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุด แม่โคมีน้ำหนักโตเต็มที่เฉลี่ยประมาณ 453 กก. พ่อพันธุ์หนักประมาณ 725 กก. เขาโค้งเข้าลาดไปด้านหน้า
โคเจอร์ซีมีเต้านมที่สวยงาม การยึดเกาะเต้านมดี ปรับตัวในการกินอาหารได้เก่ง แม่โคค่อนข้างจะขี้ตื่น ให้นมเฉลี่ยประมาณ 4,536 กก./ปี ไขมันนมเฉลี่ยร้อยละ 5.4 สูงเป็นอันดับหนึ่ง
การควบคุมและป้องกันโรคโคนม
โรคโคนมและโคเนื้อ เกิดเจ็บป่วยด้วยโรคแบบเดียวกัน แต่บางโรคเกิดขึ้นกับโคนมบ่อยกว่าโคเนื้อ โรคโคนมบางโรค เชื้อสาเหตุสามารถติดต่อมาถึงคนโดยผ่านทางน้ำนม ดังนั้นคนที่บริโภคน้ำนมดิบที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคจึงมีโอกาสติดเชื้อโรคจากโคนมได้ เช่น วัณโรค (Tuberculosis) และโรคบรูเซลโลซิล (Brucellosis) น้ำนมโคที่จะได้คุณภาพสูงโคนมจะต้องถูกควบคุมตรวจสอบโรคบางโรคเป็นประจำ...
โรงรีดนม (Milking parlor)
เป็นโรงเรือนหรือส่วนหนึ่งของคอกที่จัดทำขึ้นสำหรับรีดนมโดยเฉพาะ แม่โคจะถูกต้อนให้เข้าเพื่อรีดนม เมื่อเสร็จแล้วตัวใหม่ก็จะถูกต้อนเข้ามาแทน การรีดนมมักจะใช้เครื่องรีด บริเวณที่โคยืนจะสูกกว่าคนรีด ทำให้ผู้รีดนมสามารถยืนทำงานอย่างสะดวกลักษณะของที่รีดนมที่นิยมมี 4 แบบ คือ แบบก้างปลา (Herringbone parlor) แบบเปิดข้าง (Side-opening parlor) แบบม้าหมุน...
โรงเรือนโคนม
การเลี้ยงโคนมมีระบบการเลี้ยงใหญ่ๆ 2 แบบ คือ
1. การเลี้ยงแบบผูกยืนโรง (Stall barns)
แม่โคแต่ละตัวถูกผูกให้ยืนอยู่ในซองภายในโรงเรือนอาจจะมีการปล่อยให้โคออกกำลังบ้างเป็นครั้งคราว แม่โคจะกินอาหารและถูกรีดนมในซอง ดังรูปภาพประกอบ
2. การเลี้ยงโคแบบปล่อยอิสระในคอก (Free stall barn)
การเลี้ยงแบบนี้เป็นวิธีการเลี้ยงจำกัดบริเวณให้โคอยู่ภายในคอกขังซึ่งแบ่งส่วนของคอกออกเป็นที่สำหรับโคนอน บริเวณกินอาหาร ลานเดินออกกำลัง ที่พักรีดนม และสถานที่สำหรับรีดนม แม่โคสามารถเดินไปมาอย่างอิสระในคอกได้
ประวัติการผสมเทียม รายงานแรกสุดของการผสมเทียมมีบันทึกไว้ในปี ค.ศ.1780 ในประเทศอิตาลี เป็นการผสมเทียมในสุนัข จากรายงานนี้มาจนถึงปี ค.ศ.1900 ได้มีการพยายามใช้เทคนิคการผมสมเทียม (artificial insemination ; AI) มาประยุกต์ใช้ในปศุสัตว์ โดยปี ค.ศ.1930 นักวิจัยประเทศรัสเซีย lvanov และคณะ ประสบความสำเร็จในการผสมเทียมโคและแกะ หลังจากนี้การผสมเทียมได้รับการพัฒนาและถูกนำไปใช้อย่างมากโดยให้บริการเป็นรูปแบบการค้ามากขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร(ประเทศอังกฤษ)...
พันธุ์โคนมที่สำคัญ
พันธุ์โคนมที่ถือกันว่าเป็นพันธุ์หลักมีอยู่ 5 พันธุ์ด้วยกัน คือ แอร์ไซร์ ( Ayrshire ), บราวน์สวิส ( Brown Swiss ), เกิร์นซี ( Guernsey ), โฮลสไตน์ ฟรีเซียน ( Holstein-Friesian ), และเจอร์ซี ( Jersey
แอร์ไซร์ ( Ayrshire )
ถิ่นกำเนิด สก๊อตแลนด์
ลักษณะสำคัญ เป็นโคที่แข็งแรง แทะเล็มหญ้าเก่ง แม่โคโตเต็มที่หนักประมาณ 544 กก. พ่อโคหนักประมาณ 861 กก. มีสีขาว - น้ำตาลแดง เขามีลักษณะโค้งและกางออก
พันธุ์แอร์ไซร์จัดเป็นพันธุ์ที่ให้นมสูงในลำดับที่สามระหว่างพันธุ์โคนมด้วยกันปริมาณน้ำนมโดยเฉลี่ยประมาณ 5,307 กก./ปี เปอร์เซ็นต์ไขมันนมประมาณ ร้อยละ 4 จัดเป็นลำดับที่สี่ในกลุ่มพันธุ์หลัก
บราวน์สวิส ( Brown Swiss )
ถิ่นกำเนิด สวิสเซอร์แลนด์
ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลล้วน จมูกและลิ้นมีสำดำ เขาโค้งมาด้านหน้าชี้ขึ้น บราวน์สวิสเป็นโคที่มีโครงร่างใหญ่ ตัวเมียโตเต็มที่ประมาณ 680 กก. ส่วนตัวผู้หนักประมาณ 907 กก. โคตัวเมียเป็นสาวช้า กว่าพันธุ์อื่นๆ พันธุ์นี้ทนร้อนได้ดี นิยมนำพ่อโคผสมกับแม่โคเนื้อเพื่อได้ลูก ผสมสำหรับขุน
บราวน์สวิสจัดเป็นโคที่ให้นมสูงเป็นลำดับสองรองลงมาจากโคพันธุ์โฮลสไตน์-ฟรีเซียน ค่าเฉลี่ยของการให้นมประมาณ 5,488 กก./ปี ไขมันนมประมาณร้อยละ 4.1 จัดเป็นลำดับที่สามในกลุ่มพันธุ์โคนมหลัก
เจอร์ซี ( Jersey )
ถิ่นกำเนิด เกาะเจอร์ซี บริเวณช่องแคบอังกฤษ
ลักษณะที่สำคัญ มีสีครีมไปจนสีน้ำตาลเหลืองออกไปทางดำก็มี เนื้อ จมูก (muzzle) มีสีีดำ จัดเป็นโคนมพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุด แม่โคมีน้ำหนักโตเต็มที่เฉลี่ยประมาณ 453 กก. พ่อพันธุ์หนักประมาณ 725 กก. เขาโค้งเข้าลาดไปด้านหน้า
โคเจอร์ซีมีเต้านมที่สวยงาม การยึดเกาะเต้านมดี ปรับตัวในการกินอาหารได้เก่ง แม่โคค่อนข้างจะขี้ตื่น ให้นมเฉลี่ยประมาณ 4,536 กก./ปี ไขมันนมเฉลี่ยร้อยละ 5.4 สูงเป็นอันดับหนึ่ง
การควบคุมและป้องกันโรคโคนม
โรคโคนมและโคเนื้อ เกิดเจ็บป่วยด้วยโรคแบบเดียวกัน แต่บางโรคเกิดขึ้นกับโคนมบ่อยกว่าโคเนื้อ โรคโคนมบางโรค เชื้อสาเหตุสามารถติดต่อมาถึงคนโดยผ่านทางน้ำนม ดังนั้นคนที่บริโภคน้ำนมดิบที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคจึงมีโอกาสติดเชื้อโรคจากโคนมได้ เช่น วัณโรค (Tuberculosis) และโรคบรูเซลโลซิล (Brucellosis) น้ำนมโคที่จะได้คุณภาพสูงโคนมจะต้องถูกควบคุมตรวจสอบโรคบางโรคเป็นประจำ...
โรงรีดนม (Milking parlor)
เป็นโรงเรือนหรือส่วนหนึ่งของคอกที่จัดทำขึ้นสำหรับรีดนมโดยเฉพาะ แม่โคจะถูกต้อนให้เข้าเพื่อรีดนม เมื่อเสร็จแล้วตัวใหม่ก็จะถูกต้อนเข้ามาแทน การรีดนมมักจะใช้เครื่องรีด บริเวณที่โคยืนจะสูกกว่าคนรีด ทำให้ผู้รีดนมสามารถยืนทำงานอย่างสะดวกลักษณะของที่รีดนมที่นิยมมี 4 แบบ คือ แบบก้างปลา (Herringbone parlor) แบบเปิดข้าง (Side-opening parlor) แบบม้าหมุน...
โรงเรือนโคนม
การเลี้ยงโคนมมีระบบการเลี้ยงใหญ่ๆ 2 แบบ คือ
1. การเลี้ยงแบบผูกยืนโรง (Stall barns)
แม่โคแต่ละตัวถูกผูกให้ยืนอยู่ในซองภายในโรงเรือนอาจจะมีการปล่อยให้โคออกกำลังบ้างเป็นครั้งคราว แม่โคจะกินอาหารและถูกรีดนมในซอง ดังรูปภาพประกอบ
2. การเลี้ยงโคแบบปล่อยอิสระในคอก (Free stall barn)
การเลี้ยงแบบนี้เป็นวิธีการเลี้ยงจำกัดบริเวณให้โคอยู่ภายในคอกขังซึ่งแบ่งส่วนของคอกออกเป็นที่สำหรับโคนอน บริเวณกินอาหาร ลานเดินออกกำลัง ที่พักรีดนม และสถานที่สำหรับรีดนม แม่โคสามารถเดินไปมาอย่างอิสระในคอกได้
ข้าวหอมมะลิ
ข้าวหอมมะลิ (Thai jasmine rice) (Official name "Thai Hom Mali") เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกที่ไหนในโลกไม่ได้คุณภาพดีเท่ากับปลูกในไทย และเป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก
ประวัติ
เมื่อปี พ.ศ. 2497 นายสุนทร สีหเนิน พนักงานข้าว จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รวบรวมพันธุ์ข้าวหอมในเขตอำเภอบางคล้า ได้จำนวน 199 รวง แล้ว ดร.ครุย บุณยสิงห์ (ผู้อำนวยการกองบำรุงพันธุ์ข้าวในขณะนั้น)ได้ส่งไปปลูกคัดพันธุ์บริสุทธิ์และเปรียบเทียบพันธุ์ที่ สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง (ขณะนี้เป็นสถานีข้าวลพบุรี) ดำเนินการคัดพันธุ์โดยนักวิชาการเกษตรชื่อนายมังกร จูมทอง ภายใต้การดูและของนายโอภาส พลศิลป์ หัวหน้าสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2502 ได้พันธุ์บริสุทธิ์ข้าวขาวดอกมะลิ 4-2-105 และคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ข้าวได้อนุมัติให้เป็นพันธุ์ส่งเสริมแก่เกษตรกร เมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 โดยเกษตรกรทั่วไปเรียกว่า [ขาวดอกมะลิ 105] ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว [ขาวดอกมะลิ 105] จนได้ข้าวพันธุ์ [กข 15] ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประกาศให้ ข้าวทั้ง 2 พันธุ์เป็นข้าวหอมมะลิไทย
ข้าวหอมมะลิในปัจจุบัน
ที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายคือพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 และ พันธุ์ กข.15 ซึ่งปัจจุบันราคาข้าวหอมมะลิราคาตกต่ำลงมาเรื่อยๆ เนื่องจาก ข้าวพันธุ์ปทุมธานี1 ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวหอมมะลิ 105 โดยผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 80-100 ถัง/ไร่ ปลูกได้หลายครั้งต่อปี และสามารถปลูกได้ดีในที่ลุ่มบริเวณที่ราบภาคกลาง ขณะที่ข้าวหอมมะลิ 105 นั้นจะให้ผลผลิตต่อไร่เพียง 30-40 ถัง/ไร่ และปลูกได้ดีในบางพื้นที่เท่านั้น ทางรัฐบาลจึงส่งเสริมให้ชาวนา เน้นการปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มากกว่า
พันธุ์ปทุมธานี 1 แม้ว่าจะมีความหอมคล้ายข้าวหอมมะลิ แต่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิ
ลักษณะจำเพาะของกลิ่นหอมมะลิ
ความหอมของข้าวหอมมะลิ เกิดจากสารระเหยชื่อ 2-acetyl-1-pyroline ซึ่งเป็นสารที่ระเหยหายไปได้ การรักษาความหอมของข้าวหอมมะลิให้คงอยู่นานนั้นจึงควรเก็บข้าวไว้ในที่เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส เก็บ ข้าวเปลือกที่มีความชื้นต่ำ 14-15% ลดความชื้นข้าวเปลือกที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป นักการเกษตรกรทางท่านกล่าวว่า การใช้ปุ๋ยโปตัสเซียมในการเกรดในการจำหน่าย
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้แบ่งชั้นของข้าวหอมมะลิดังนี้
1. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 (ดีพิเศษ) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 5%
2. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 2 (ดี) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 15%
3. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 3 (ธรรมดา) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 30%
การส่งออก
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 เป็นต้นมา ปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับ 2 ล้านตันในปี พ.ศ. 2520 (ช่วง 50 ปี) หรือมีอัตราเพิ่มเฉลี่ย 1 ล้านตันต่อ 25 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521-2545 การส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 1 ล้านตันทุก ๆ 5 ปี การส่งออกข้าวไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะนี้ดำเนินไปพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของประชากรจาก 1ล้านคนในปี พ.ศ. 2470 มาเป็น 63 ล้านคนในปี พ.ศ. 2547 และพื้นที่ปลูกข้าวของไทยก็เพิ่มขึ้น 16 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2470 มา
เป็น 61 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2547
การส่งออกข้าวไทยในปัจจุบัน เป็นการค้าแบบเสรีในลักษณะที่ผู้ส่งออกตกลงกับผู้ซื้อใน ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีลักษณะการส่งออกข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล แต่ก็ไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเอกชน โดยในปี พ.ศ. 2544 เอกชนส่งออกถึง 7,237,708 ตัน คิดเป็น 96.24 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ขณะที่รัฐบาลส่งออกเพียง 282,970 ตัน คิดเป็น 3.76 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออก และในปี พ.ศ. 2546 ปริมาณการส่งออกข้าวไทยทำสถิติสูงที่สุดถึง 7.597 ล้านตัน ทำรายได้ให้ประเทศ 76,368 ล้านบาท โดยส่งไปขายทั่วโลก 173 ประเทศ ตลาดหลักของ ข้าวไทยอยู่ในทวีปเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง อเมริกา ยุโรป และโอเชียเนีย ตามลำดับ
วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554
ประเพณีสงกรานต์
สงกรานต์ เป็นประเพณีของคนไทยที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน อันที่จริงไม่ใช่เฉพาะคนไทยในประเทศไทยเท่านั้น ที่ถือว่าประเพณีสงกรานต์มีความสำคัญ คนที่พูดภาษาตระกูลไท ก็ยึดถือปฏิบัติเช่นเดียวกัน เช่น ประเทศลาว คนไทยใหญ่ในประเทศพม่าที่ชายแดนติดกับภาคเหนือของไทย คนจีนที่พูดภาษาตระกูลไท ในแค้วนยูนนาน เป็นต้น
สงกรานต์ เป็นคำที่ชาวบ้านทั่วไปนิยมใช้ แต่คำเต็ม ๆ คือ ตรุษสงกรานต์ ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียด ดังนี้
ตรุษ แปลว่า ตัด หรือ ขาด หมายถึง ตัดปี ขาดปี หรือสิ้นปี ดังนั้น ตรุษ จึงหมายถึงพิธีแสดงความยินดีที่ปีเก่าผ่านไป การมีชีวิตรอดมาตลอดปีได้ ก็มีการแสดงความยินดี คนไทยแต่ก่อนนับเดือน เมษายน เป็นเดือนสิ้นปี และเริ่มปีใหม่ พิธีทำบุญวันตรุษ จะทำ 3 วัน คือ เมื่อถึงเดือน 4 วันแรม 14 ค่ำ แรม 15 ค่ำ และวันขึ้น 1 ค่ำ ของเดือน 5 จะมีการนิมนต์พระมาสวด และมีการทำบุญ ถวายอาหารและขอพรจากพระ เพื่อเป็นสวัสดิมงคล สันนิฐานว่าคนไทยรับนับถือพุทธศาสนา เลยทำแบบอย่างพิธีทำบุญวันตรุษตามแบบอย่างของลังกามาด้วย
ส่วน สงกรานต์ แปลว่า การย้ายที่ หรือ เคลื่อนที่ หมายถึง พระอาทิตย์ย้ายที่หรือเคลื่อนเข้าสู่ราศีใหม่ ซึ่งก็หมายถึง การขึ้นปีใหม่นั่นเอง คนจึงแสดงความยินดีที่มีชีวิตยืนยาวย่างเข้าสู่ปีใหม่ จึงต้อนรับปีใหม่ วันปีใหม่จะเป็นวันที่ 13, 14, และ 15 เมษายนของทุกปี
วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เรียกว่า วันเนา และวันที่ 15 เรียกว่า วันเถลิงศก ทางภาคเหนือ เรียกต่างกันไปบ้าง แต่ก็เข้าใจง่ายดี ดังนี้ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันสังขารล่อง คงหมายถึง ร่ายกาย จิต วิญญาณเก่า ๆ ของปีเก่ากำลังผ่านพ้นไป วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเน่า ส่วนวันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันพญาวัน ซึ่งก็หมายถึงวันสำคัญวันแรกของปีใหม่นั่นเอง
เรื่องของสงกรานต์ มีตำนานปรากฏในจารึกวัดพระเชตุพน กล่าวถึงมูลเหตุแห่งสงกรานต์ สรุปได้ว่า
มีเศรษฐีคนหนึ่งถูกนักเลงสุราใกล้บ้านที่มีลูกหน้าตาหมดจด 2 คน มากล่าวหาหยาบคายว่า ร่ำรวยก็สู้เขาไม่ได้ แม้ยากจนก็ยังมีลูกสืบสกุล ตายแล้วก็สูญเปล่า เศรษฐีจึงไปบนบานศาลกล่าวที่ต้นไทร ริมแม่น้ำ ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลเทวบุตรมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อคลอดมา ชื่อ ธรรมบาลกุมาร บิดาปลูกปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ใต้ต้นไทรนั้น ธรรมบาลเฉลียวฉลาด เรียนจบไตรเพท เมื่ออายุ 7 ขวบ และรู้ภาษานกด้วย ท้าวกบิลพรหมจึงมาทดลองความรู้ โดยถามปัญหา 3 ข้อ ถ้าตอบได้ จะตัดศีรษะบูชา คือ
เช้าราศีอยู่ที่ไหน
เที่ยงราศีอยู่ที่ไหน
ค่ำราศีอยู่ที่ไหน
ภายใน 7 วันจะมาฟังคำตอบ ธรรมบากลุมาร คิดไม่ออก ถึงวันที่ 6 จึงแอบหนีจากปราสาทไปหลบอยู่ใต้ต้นตาลใหญ่ 2 ต้น ซึ่งพญาอินทรีผัวเมียทำรังอยู่บนนั้น
ตอนค่ำนางนกอินทรีถามผัวว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารที่ไหนกิน ผัวตอบว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร เพราะจะแพ้ตอบปัญหากบิลพรหมไม่ได้ จะถูกตัดหัว เมื่อนางนกอินทรีถามปัญหาว่าอย่างไร และคำตอบว่าอย่างไร พญาอินทรีเฉลยปัญหาให้เมียฟังว่า
ตอนเช้าราศีอยู่ที่หน้า มนุษย์จึงเอาน้ำล้างหน้าตอนเช้า
ราศีอยู่ที่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมมาปะพรมที่อก
ราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงล้างเท้าก่อนนอน
ธรรมบาลได้ฟังนกอินทรีผัวเมียสนทนาจึงกลับมาประสาท พอวันรุ่งขึ้นกบิลพรหมก็มาถามปัญหา ธรรมบาลก็ตอบตามที่ได้ยินจากพ่อนกอินทรี กบิลพรหมแพ้จึงต้องตัดศีรษะตามสัญญา แต่ศีรษะของกบิลพรหมมีฤทธิ์อำนาจมาก ถ้าตกถึงพื้น จะเกิดไฟไหม้ทั่วโลก ถ้าทิ้งบนอากาศฝนจะแล้ง ถ้าโยนลงน้ำ มหาสมุทรจะเหือดแห้งไปทันที จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดเอาพานมารับศีรษะไว้ แห่รอบเขาพระสุเมรุ แล้วเชิญไปไว้ในมณฑปในถ้ำคันธธุลี เขาไกรลาส เมื่อครบ 365 วันหรือ 1 ปี นางทั้งเจ็ดจัดเวรกันมาเชิญศีรษะกบิลพรหมออกมาแห่รอบเขาพระสุเมรุ โดยกำหนดว่า วันที่ 13 เดือนเมษายน คือวันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันใด ธิดาประจำวันนั้นก็จะป็นผู้อัญเชิญพาน ดังนี้
วันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อ ทุงษะ
วันจันทร์ นางสงกรานต์ชื่อ โคราค
วันอังคาร นางสงกรานต์ชื่อ รากษส
วันพุธ นางสงกรานต์ชื่อ มัณฑา
วันพฤหัสบดี นางสงกรานต์ชื่อ กิริณี
วันศุกร์ นางสงกรานต์ชื่อ กิมิทา
วันเสาร์ นางสงกรานต์ชื่อ มโหทร
สงกรานต์เป็นประเพณีที่ชาวไทยทั่วประเทศปฏิบัติสืบต่อเป็นประเพณีมาช้านาน ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน จนถึงวันที่ 15 เมษายน ชาวบ้านจะทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา และสรงน้ำพระทั้งพระพุทธรูป และพระสงฆ์ แล้วก็จะรดน้ำ มีการเล่นสาดน้ำและเล่นกีฬาพื้นบ้าน
ประเพณีปล่อยปลาถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพราะเดือนเมษายน เป็นหน้าแล้ง อากาศร้อนมาก น้ำแห้งขอด ปลาก็จะไปรวมกันอยู่ตามแหล่งน้ำเล็ก ๆ หากน้ำแห้งก็จะตาย เป็นเหยื่อของนก กา หรือสัตว์อื่น คนเห็นก็เมตตา นำไปปล่อยในแม่น้ำ พอถึงฤดูฝนปลาที่รอดตายก็กลับมาแพร่พันธุ์เป็นอาหารของคนได้อีก
สงกรานต์ที่เชียงใหม่
ประเพณีสงกรานต์ ภาคเหนือและภาคอีสานมีการเล่นสงกรานต์ สาดน้ำกันทั่วทุกหมู่บ้าน ถึงกับมีการหยุดงานเล่นสงกรานต์ บางแห่งหยุดงานถึง 7 วันเลยทีเดียว ประเพณีสงกรานต์ที่มีชื่อเสียงที่สุด สนุกที่สุด และมีคนจากที่อื่นของประเทศไทย รวมทั้งชาวต่างประเทศมาร่วมงานสงกรานต์มากที่สุด คือ สงกรานต์ที่เชียงใหม่ ชาวเมืองเชียงใหม่จะปฏิบัติ ดังนี้
วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันสังขานต์ล่อง จะเป็นวันทำความสะอาดบ้านเรือน
วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนาว์ ชาวบ้านเรียกว่า วันเน่า วันนี้ชาวบ้านจะนำอาหารไปถวายพระ เลี้ยงอาหารญาติมิตร เป็นวันขึ้นต้นปีใหม่ จะถือว่าต้องไม่ทำอะไรชั่วร้าย ไม่พูดจาหยาบคาย ด่าทอคนอื่น
วันที่ 15 เมษายน เป็นวัน พญาวัน ถือเป็นวันดีที่สุด จะทำบุญตักบาตรกันอย่างเต็มที มีการจัดขบวนไปรดน้ำสงฆ์ ไปรดน้ำผู้ใหญ่ ขอพรให้อยู่เย็นเป็นสุข
ภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน (Global Warming)
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ค่ะ (Greenhouse gases)
ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ค่ะ
แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี
ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน
ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง
ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน
แม้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อเป็นทอด ๆ และจะมีผลกระทบกับโลกในที่สุด ขณะนี้ผลกระทบดังกล่าวเริ่มปรากฏให้เห็นแล้วทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การละลายของน้ำแข็งทั่วโลก ทั้งที่เป็นธารน้ำแข็ง (glaciers) แหล่งน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก และในกรีนแลนด์ซึ่งจัดว่าเป็นแหล่งน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก น้ำแข็งที่ละลายนี้จะไปเพิ่มปริมาณน้ำในมหาสมุทร เมื่อประกอบกับอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำสูงขึ้น น้ำก็จะมีการขยายตัวร่วมด้วย ทำให้ปริมาณน้ำในมหาสมุทรทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมาก ส่งผลให้เมืองสำคัญ ๆ ที่อยู่ริมมหาสมุทรตกอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลทันที
มีการคาดการณ์ว่า หากน้ำแข็งดังกล่าวละลายหมด จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 6-8 เมตรทีเดียว
ผลกระทบที่เริ่มเห็นได้อีกประการหนึ่งคือ การเกิดพายุหมุนที่มีความถี่มากขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย ดังเราจะเห็นได้จากข่าวพายุเฮอริเคนที่พัดเข้าถล่มสหรัฐหลายลูกในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ละลูกก็สร้างความเสียหายในระดับหายนะทั้งสิ้น สาเหตุอาจอธิบายได้ในแง่พลังงาน กล่าวคือ เมื่อมหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้น พลังงานที่พายุได้รับก็มากขึ้นไปด้วย ส่งผลให้พายุมีความรุนแรงกว่าที่เคย
นอกจากนั้น สภาวะโลกร้อนยังส่งผลให้บางบริเวณในโลกประสบกับสภาวะแห้งแล้งอย่างอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น ขณะนี้ได้เกิดสภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้นอีกเนื่องจากต้นไม้ในป่าที่เคยทำหน้าที่ดูดกลืนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ล้มตายลงเนื่องจากขาดน้ำ นอกจากจะไม่ดูดกลืนแก๊สต่อไปแล้ว ยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากกระบวนการย่อยสลายด้วย และยังมีสัญญาณเตือนจากภัยธรรมชาติอื่น ๆ อีกมา ซึ่งหากเราสังเกตดี ๆ จะพบว่าเป็นผลจากสภาวะนี้ไม่น้อย
การแก้ปัญหาโลกร้อน
แล้วเราจะหยุดสภาวะโลกร้อนได้อย่างไร
เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงว่าเราคงไม่อาจหยุดยั้งสภาวะโลกร้อนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ถึงแม้ว่าเราจะหยุดผลิตแก๊สเรือนกระจกโดยสิ้นเชิงตั้งแต่บัดนี้ เพราะโลกเปรียบเสมือนเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีกลไกเล็ก ๆ จำนวนมากทำงานประสานกัน การตอบสนองที่มีต่อการกระตุ้นต่าง ๆ จะต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับเข้าสู่สภาวะสมดุล และแน่นอนว่า สภาวะสมดุลอันใหม่ที่จะเกิดขึ้นย่อมจะแตกต่างจากสภาวะปัจจุบันอย่างมาก
แต่เราก็ยังสามารถบรรเทาผลอันร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้ความรุนแรงลดลงอยู่ในระดับที่พอจะรับมือได้ และอาจจะชะลอปรากฏการณ์โลกร้อนให้ช้าลง กินเวลานานขึ้น สิ่งที่เราพอจะทำได้ตอนนี้คือพยายามลดการผลิตแก๊สเรือนกระจกลง และเนื่องจากเราทราบว่าแก๊สดังกล่าวมาจากกระบวนการใช้พลังงาน การะประหยัดพลังงานจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดอัตราการเกิดสภาวะโลกร้อนไปในตัว
วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554
การปลูกพืชไร้ดิน
การปลูกพืชไร้ดิน ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics)
เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นับเป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืช
โดยเฉพาะการปลูกผักและพืชที่ใช้เป็นอาหาร เนื่องจากประหยัดพื้นที่และไม่ปนเปื้อนกับสารเคมีต่างๆ ในดิน
ทำให้ได้พืชผักที่สะอาดเป็นอาหาร ปัจจุบันนี้ในเทคนิคการปลูกพืชแบบไร้ดินหลายแบบด้วยกัน
ความเป็นมา นักวิจัยด้านเมตาบอลิซึมของพืชได้ค้นพบว่าพืชจะดูดซึมสารอาหารมาเป็นไอออนใน น้ำ ซึ่งมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ในสภาพตามธรรมชาตินั้น ดินจะทำหน้าที่เป็นแหล่งสารอาหาร แต่ดินเองนั้นไม่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช เมื่อสารอาหารในดินละลายไปกับน้ำ รากของพืชก็จะสามารถดูดซึมสารอาหารนั้นได้ เมื่อใส่สารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชไว้ในแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ดินเพื่อเป็นแหล่งอาหารของพืชอีกต่อไป พืชส่วนใหญ่จะเติบโตด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ได้ แต่เติบโตได้ดีมากน้อยแตกต่างกัน การปลูกพืชไร้ดินนี้ทำได้ง่าย สะดวก และประหยัดพื้นที่ แต่ต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็น นั่นคือสารอาหารสำหรับพืชที่ละลายอยู่ในน้ำเล้ว
เทคนิคการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน จะแบ่งเทคนิคเหล่านี้ตามชนิดของวัสดุที่ใช้ปลูก
1.การปลูกในวัสดุปลูกที่เป็นของแข็ง โดยทั่วไป จะใช้วัสดุปลูกต่างๆ ใส่ลงในภาชนะปลูก ซึ่งจะมีแบบต่างๆ ได้แก่ การปลูกในถุง (Sack culture) ซึ่งปรกติ จะปลูกในแนวระนาบ แต่ถ้าปลูกในแนวตั้ง เพื่อเพิ่มพื้นที่ ในการปลูกในเรือนกระจก จะเป็นการปลูก ในภาชนะปลูกแนวตั้ง (Column culture) ภาชนะที่ใช้ใส่วัสดุปลูก อาจทำเป็นกระบะขนาดใหญ่ หรือเป็นกระถางก็ได้ ซึ่งพอสรุป วิธีปลูกต่างๆได้ดังนี้ การปลูกในทราย (Sand culture) การปลูกในกรวด (Gravel Culture) การปลูกในขี้เลื่อย(Sawdust culture) การปลูกในแผ่นฟองน้ำฯลฯ รูปการปลูกในวัสดุปลูกแบบต่างๆ.(Substrate culture)
2. การปลูกในสารละลาย คือการปลูกในน้ำ (Water culture หรือ Hydroponic) การปลูกแบบนี้ รากพืชจะเจริญอยู่ในสารละลาย ธาตุอาหารพืชโดยตรง ได้แก่ วิธีปลูกแบบ
ก.การปลูกในสารละลายไม่มีการไหลวน (Water culture) โดยรากพืช จะแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหาร ที่อยู่นิ่ง แต่จะมีการให้อากาศในน้ำ โดยเครื่องพ่นอากาศ
ข.การปลูกแบบ N.F.T.(Nutrient Film Technique)
ค.การปลูกในอากาศ (Aeroponic)เป็นระบบปลูกที่รากพืช ลอยอยู่ในอากาศ และมีการฉีดสารละลายธาตุอาหาร เป็นฝอยไปที่รากพืชโดยตรง
ง.การปลูกแบบ DFT.(Deep Flow Technique)
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
ในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งต่างๆดังนี้
-วัสดุต่างๆที่สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปลูก ในการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน รวมถึงข้อดีข้อเสีย ของวัสดุแต่ละชนิด
-ภาชนะที่ใช้ในการปลูกพืช ทั้งเพื่อปลูกเป็นการค้าจำนวนมาก และเพื่อปลูกเป็นไม้ประดับ
-หลักและวิธีการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช
-อุปกรณ์และวิธีการติดตั้งระบบการให้น้ำ และสารละลายธาตุอาหารแก่พืช
-ระบบควบคุมการให้น้ำ และสารละลายธาตุอาหารพืช โดยอัตโนมัติ
-การตรวจสอบและควบคุมส่วนต่างๆ ในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
-เทคนิคการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแบบต่างๆ ข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบ
เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นับเป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืช
โดยเฉพาะการปลูกผักและพืชที่ใช้เป็นอาหาร เนื่องจากประหยัดพื้นที่และไม่ปนเปื้อนกับสารเคมีต่างๆ ในดิน
ทำให้ได้พืชผักที่สะอาดเป็นอาหาร ปัจจุบันนี้ในเทคนิคการปลูกพืชแบบไร้ดินหลายแบบด้วยกัน
ความเป็นมา นักวิจัยด้านเมตาบอลิซึมของพืชได้ค้นพบว่าพืชจะดูดซึมสารอาหารมาเป็นไอออนใน น้ำ ซึ่งมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ในสภาพตามธรรมชาตินั้น ดินจะทำหน้าที่เป็นแหล่งสารอาหาร แต่ดินเองนั้นไม่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช เมื่อสารอาหารในดินละลายไปกับน้ำ รากของพืชก็จะสามารถดูดซึมสารอาหารนั้นได้ เมื่อใส่สารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชไว้ในแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ดินเพื่อเป็นแหล่งอาหารของพืชอีกต่อไป พืชส่วนใหญ่จะเติบโตด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ได้ แต่เติบโตได้ดีมากน้อยแตกต่างกัน การปลูกพืชไร้ดินนี้ทำได้ง่าย สะดวก และประหยัดพื้นที่ แต่ต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็น นั่นคือสารอาหารสำหรับพืชที่ละลายอยู่ในน้ำเล้ว
เทคนิคการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน จะแบ่งเทคนิคเหล่านี้ตามชนิดของวัสดุที่ใช้ปลูก
1.การปลูกในวัสดุปลูกที่เป็นของแข็ง โดยทั่วไป จะใช้วัสดุปลูกต่างๆ ใส่ลงในภาชนะปลูก ซึ่งจะมีแบบต่างๆ ได้แก่ การปลูกในถุง (Sack culture) ซึ่งปรกติ จะปลูกในแนวระนาบ แต่ถ้าปลูกในแนวตั้ง เพื่อเพิ่มพื้นที่ ในการปลูกในเรือนกระจก จะเป็นการปลูก ในภาชนะปลูกแนวตั้ง (Column culture) ภาชนะที่ใช้ใส่วัสดุปลูก อาจทำเป็นกระบะขนาดใหญ่ หรือเป็นกระถางก็ได้ ซึ่งพอสรุป วิธีปลูกต่างๆได้ดังนี้ การปลูกในทราย (Sand culture) การปลูกในกรวด (Gravel Culture) การปลูกในขี้เลื่อย(Sawdust culture) การปลูกในแผ่นฟองน้ำฯลฯ รูปการปลูกในวัสดุปลูกแบบต่างๆ.(Substrate culture)
2. การปลูกในสารละลาย คือการปลูกในน้ำ (Water culture หรือ Hydroponic) การปลูกแบบนี้ รากพืชจะเจริญอยู่ในสารละลาย ธาตุอาหารพืชโดยตรง ได้แก่ วิธีปลูกแบบ
ก.การปลูกในสารละลายไม่มีการไหลวน (Water culture) โดยรากพืช จะแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหาร ที่อยู่นิ่ง แต่จะมีการให้อากาศในน้ำ โดยเครื่องพ่นอากาศ
ข.การปลูกแบบ N.F.T.(Nutrient Film Technique)
ค.การปลูกในอากาศ (Aeroponic)เป็นระบบปลูกที่รากพืช ลอยอยู่ในอากาศ และมีการฉีดสารละลายธาตุอาหาร เป็นฝอยไปที่รากพืชโดยตรง
ง.การปลูกแบบ DFT.(Deep Flow Technique)
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
ในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งต่างๆดังนี้
-วัสดุต่างๆที่สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปลูก ในการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน รวมถึงข้อดีข้อเสีย ของวัสดุแต่ละชนิด
-ภาชนะที่ใช้ในการปลูกพืช ทั้งเพื่อปลูกเป็นการค้าจำนวนมาก และเพื่อปลูกเป็นไม้ประดับ
-หลักและวิธีการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช
-อุปกรณ์และวิธีการติดตั้งระบบการให้น้ำ และสารละลายธาตุอาหารแก่พืช
-ระบบควบคุมการให้น้ำ และสารละลายธาตุอาหารพืช โดยอัตโนมัติ
-การตรวจสอบและควบคุมส่วนต่างๆ ในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
-เทคนิคการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแบบต่างๆ ข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบ
สโมสรลิเวอร์พูล
สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล (อังกฤษ: Liverpool Football Club) เป็นหนึ่งในสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทีมหนึ่งในฟุตบอลอังกฤษ ลิเวอร์พูลครองแชมป์ดิวิชั่น 1 ถึง 18 ครั้ง ครองแชมป์ยูโรเปียนคัพ 5 ครั้ง ก่อตั้งใน วันที่ 15 มีนาคม ปี พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) ลิเวอร์พูลเป็นสโมสรหนึ่งในกลุ่มจี-14 มีฉายาในภาษาไทยว่า "หงส์แดง" พร้อมด้วยคำขวัญ "You'll Never Walk Alone"
สโมสรลิเวอร์พูลก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2435 และก้าวขึ้นมาเป็นสโมสรแนวหน้าของอังกฤษอย่างรวดเร็วจนประสบความสำเร็จเป็นแชมป์ลีกสูงสุดชองประเทศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2444 (ฤดูกาล 1900/01) และครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2449 (ฤดูกาล 1905/06) ครั้งที่ 3 และ 4 เป็นแชมป์สองฤดูกาลติดใน พ.ศ. 2465 กับ พ.ศ. 2466 (ฤดูกาล 1921/22 กับ 1922/23) แชมป์ลีกสูงสุดครั้งที่ 5 คือปี พ.ศ. 2490 (ฤดูกาล 1946/47) อย่างไรก็ตามลิเวอร์พูลพบกับช่วงตกต่ำต้องไปเล่นในในดิวิชัน 2 ใน พ.ศ. 2497 (ฤดูกาล 1953/54) ภายหลังจึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสโมสรในปี พ.ศ. 2502 สโมสรได้แต่งตั้ง บิลล์ แชงก์คลี เป็นผู้จัดการทีม เขาได้เปลี่ยนแปลงทีมไปอย่างมาก จนประสบความสำเร็จได้เลื่อนชั้นในปี พ.ศ. 2505 (ฤดูกาล 1961/62) และได้แชมป์ลีกสูงสุดของประเทศอีกครั้งใน พ.ศ. 2507 (ฤดูกาล 1963/64) หลังจากรอคอยมานานถึง 17 ปี บิล แชงก์ลี คว้าแชมป์เอฟเอคัพเป็นถ้วยแรกของสโมสรลิเวอร์พูลในปี พ.ศ. 2508 (ฤดูกาล 1964/65)และคว้าแชมป์ดิวิชั่น1 อีกครั้งในฤดูกาลต่อมา พ.ศ. 2509 (ฤดูกาล 1965/66) ความสำเร็จของแชงก์ลียังเดินหน้าต่อไป เมื่อลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ยูฟ่าคัพ พร้อมแชมป์ดิวิชั่น 1 ใน พ.ศ. 2516 (ฤดูกาล 1972/73) และเอฟเอคัพ อีกครั้งใน พ.ศ. 2517 (ฤดูกาล 1973/74) หลังจากนั้นบิลล์ แชงก์คลีขอวางมือจากสโมสร โดยให้ผู้ช่วยของเขาสืบทอดตำแหน่ง ผู้จัดการทีมแทน นั่นคือ บ็อบ เพสส์ลี่
สนามปัจจุบันของสโมสรคือ แอนฟิลด์ มีความจุ 45,362 คน ในขณะเดียวกันสนามใหม่กำลังถูกวางแผนก่อสร้างในชื่อ สนามสแตนลีย์พาร์ก ความจุประมาณ 60,000 อยู่ในระหว่างการเจรจาระหว่างเจ้าของและทางเอชเคเอส สำนักงานสถาปนิกอเมริกัน
เกียรติประวัติ
ลีกฟุตบอลลีกดิวิชันหนึ่ง (English football champions):[note 1] 18
1900–01, 1905–06, 1921–22, 1922–23, 1946–47, 1963–64, 1965–66, 1972–73, 1975–76, 1976–77, 1978–79, 1979–80, 1981–82, 1982–83, 1983–84, 1985–86, 1987–88, 1989–90
ฟุตบอลลีกดิวิชันสอง:[note 1] 4
1893–94, 1895–96, 1904–05, 1961–62
Lancashire League: 1
1892–93
คัพเอฟเอคัพ: 7
1965, 1974, 1986, 1989, 1992, 2001, 2006
ลีกคัพ: 7
1981, 1982, 1983, 1984, 1995, 2001, 2003
เอฟเอชาริตีชิลด์ / เอฟเอคอมมิวนิตีชิลด์: 15 (10 ชนะเลิศ, 5 ร่วม)
1964 (ร่วม), 1965 (ร่วม), 1966, 1974, 1976, 1977 (ร่วม), 1979, 1980, 1982, 1986 (ร่วม), 1988, 1989, 1990 (ร่วม), 2001, 2006
ยุโรปยูโรเปียนคัพ / ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก: 5
1977, 1978, 1981, 1984, 2005
ยูฟ่า คัพ: 3
1973, 1976, 2001
ยูฟ่าซูเปอร์คัพ: 3
1977, 2001, 2005
เป็นต้น
พระราชวังไกลกังวล
พระราชวังไกลกังวล ตั้งอยู่ห่างจากหัวหินไปทางทิศเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร บนถนนเพชรเกษม กิโลเมตรที่ 229 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สำหรับใช้เป็นที่ประทับในฤดูร้อน และพระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ผู้อำนวยการกรมศิลปากร ในสมัยนั้นเป็นผู้ออกแบบ และเป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2469
ต่อมาได้รับการซ่อมแซม และก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ในบริเวณมีพระตำหนักหลายหลังมีชื่อคล้องจองกัน ได้แก่ พระตำหนักเปี่ยมสุข ปลุกเกษม เอิบเปรม เอมปรีดิ์ สร้างอยู่กลางอุทยานไม้ดอก ไม้ประดับนานาพันธุ์ โดยมีพื้นที่ด้านหนึ่งติดชายทะเล นอกจากนั้นยังมี พิพิธภัณฑ์หอย เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ได้รวบรวมหอยทุกชนิด
พระราชวังไกลกังวลแห่งนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 9.00-15.15น. อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท เท่านั้น ไม่แพงเลยใช่มั๊ยครับ เสียเงินแค่ไม่เกิน 20 บาท แต่ได้เข้าชมพระราชวังที่สวยงามและมีประวัติศาสตร์อันยาวนานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 คุ้มที่สุดหาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว (ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 032-511-115 )
ต่อมาได้รับการซ่อมแซม และก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ในบริเวณมีพระตำหนักหลายหลังมีชื่อคล้องจองกัน ได้แก่ พระตำหนักเปี่ยมสุข ปลุกเกษม เอิบเปรม เอมปรีดิ์ สร้างอยู่กลางอุทยานไม้ดอก ไม้ประดับนานาพันธุ์ โดยมีพื้นที่ด้านหนึ่งติดชายทะเล นอกจากนั้นยังมี พิพิธภัณฑ์หอย เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ได้รวบรวมหอยทุกชนิด
พระราชวังไกลกังวลแห่งนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 9.00-15.15น. อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท เท่านั้น ไม่แพงเลยใช่มั๊ยครับ เสียเงินแค่ไม่เกิน 20 บาท แต่ได้เข้าชมพระราชวังที่สวยงามและมีประวัติศาสตร์อันยาวนานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 คุ้มที่สุดหาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว (ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 032-511-115 )
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตั้งอยู่ที่อำเภอภูกระดึงในจังหวัดเลย เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศไทย เนื่องจากมีธรรมชาติที่สวยงาม ในแต่ละปีจึงมีคนมาเที่ยวเฉลี่ยหลายหมื่นคน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวมักมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปพักผ่อนบนภูกระดึงจำนวนมาก ภูกระดึงได้รับการจัดตั้งเป็นป่าสงวนแห่งชาติในปี พ.ศ. 2486 และเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 โดยเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่สองถัดจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 348.12 ตารางกิโลเมตร (217,575 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึง ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) มีความสูงอยู่ระหว่าง 400-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตร
อุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีภูมิอากาศบริเวณพื้นราบรอบเชิงเขาเหมือนกับบริเวณอื่นๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน-ตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 26 °C อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายน ปริมาณหยาดน้ำฟ้า 1,242 มิลลิเมตรต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 72%[4]
สภาพอากาศบนยอดภูกระดึง มีปริมาณหยาดน้ำฟ้าเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณหยาดน้ำฟ้าบนที่ราบเชิงเขา สาเหตุมาจากอิทธิพลของเมฆและหมอกที่ปกคลุมยอดเขา ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 90% อุณหภูมิเฉลี่ย 19.7 °C[4] ในฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม มีอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง 0-10 °C อุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่าง 21-24 °C ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง 12-19 °C อุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่าง 23-30 °C อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอกลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดทั้งปี ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้
ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี
การเดินทาง
ผานกเค้า สถานที่แวะพักผ่อนที่สำคัญก่อนถึงอุทยานแห่งชาติภูกระดึง[แก้] รถยนต์[6]1.เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า ด่านซ้าย ภูเรือ และอำเภอเมืองเลย เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (เลย-ขอนแก่น) และเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
2.ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา จนถึงจังหวัดขอนแก่นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูผาม่าน และตำบลผานกเค้า เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
3.เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 ผ่านจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ จากนั้นเดินทางเช่นเดียวกับเส้นทางที่ 2
[แก้] รถทัวร์1.รถทัวร์สายกรุงเทพ-เมืองเลยลงรถที่ผานกเค้า หรือสถานีขนส่งอำเภอภูกระดึงแล้วต่อรถสองแถวเพื่อเดินทางไปยังที่ทำการอุทยาน มีบริษัทให้บริการได้แก่บริษัท ขนส่งจำกัด แอร์เมืองเลย ภูกระดึงทัวร์ ขอนแก่นทัวร์ ศิขรินทร์ทัวร์ และชุมแพทัวร์
2.รถโดยสารระหว่างจังหวัดที่ผ่านอำเภอภูกระดึงคือ สายขอนแก่น-เมืองเลย และบริษัทนครชัยขนส่ง สาย เลย-พัทยา-ระยอง และ สายนครราชสีมา-เชียงคาน ลงรถที่ผานกเค้า หรือสถานีขนส่งอำเภอภูกระดึงแล้วต่อรถสองแถวเพื่อเดินทางไปยังที่ทำการอุทยานเช่นเดียวกัน
อุทยานตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 348.12 ตารางกิโลเมตร (217,575 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึง ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) มีความสูงอยู่ระหว่าง 400-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตร
อุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีภูมิอากาศบริเวณพื้นราบรอบเชิงเขาเหมือนกับบริเวณอื่นๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน-ตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 26 °C อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายน ปริมาณหยาดน้ำฟ้า 1,242 มิลลิเมตรต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 72%[4]
สภาพอากาศบนยอดภูกระดึง มีปริมาณหยาดน้ำฟ้าเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณหยาดน้ำฟ้าบนที่ราบเชิงเขา สาเหตุมาจากอิทธิพลของเมฆและหมอกที่ปกคลุมยอดเขา ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 90% อุณหภูมิเฉลี่ย 19.7 °C[4] ในฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม มีอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง 0-10 °C อุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่าง 21-24 °C ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง 12-19 °C อุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่าง 23-30 °C อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอกลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดทั้งปี ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้
ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี
การเดินทาง
ผานกเค้า สถานที่แวะพักผ่อนที่สำคัญก่อนถึงอุทยานแห่งชาติภูกระดึง[แก้] รถยนต์[6]1.เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า ด่านซ้าย ภูเรือ และอำเภอเมืองเลย เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (เลย-ขอนแก่น) และเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
2.ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา จนถึงจังหวัดขอนแก่นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูผาม่าน และตำบลผานกเค้า เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
3.เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 ผ่านจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ จากนั้นเดินทางเช่นเดียวกับเส้นทางที่ 2
[แก้] รถทัวร์1.รถทัวร์สายกรุงเทพ-เมืองเลยลงรถที่ผานกเค้า หรือสถานีขนส่งอำเภอภูกระดึงแล้วต่อรถสองแถวเพื่อเดินทางไปยังที่ทำการอุทยาน มีบริษัทให้บริการได้แก่บริษัท ขนส่งจำกัด แอร์เมืองเลย ภูกระดึงทัวร์ ขอนแก่นทัวร์ ศิขรินทร์ทัวร์ และชุมแพทัวร์
2.รถโดยสารระหว่างจังหวัดที่ผ่านอำเภอภูกระดึงคือ สายขอนแก่น-เมืองเลย และบริษัทนครชัยขนส่ง สาย เลย-พัทยา-ระยอง และ สายนครราชสีมา-เชียงคาน ลงรถที่ผานกเค้า หรือสถานีขนส่งอำเภอภูกระดึงแล้วต่อรถสองแถวเพื่อเดินทางไปยังที่ทำการอุทยานเช่นเดียวกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)