วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ดนตรีพื้นบ้านอีสาน

ดนตรีอีสาน


เป็นดนตรีระดับพื้นบ้าน เข้าถึงชีวิตชาวบ้าน สืบทอดพัฒนาโดยชาวบ้าน จนได้ชื่อว่าเป็นดนตรีพื้นบ้านอีสาน ที่เข้าถึงชีวิต จิตใจ กล่อมเกลาจิตใจ ตลอดถึง ให้ความสนุกสนาน บันเทิง แก่ชาวอีสาน มาช้านาน เครื่องดนตรีบางอย่าง ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้น และกำเนิดขึ้นในยุคสมัยไหน แต่เครื่องดนตรีทั้งหลาย ก็ยังมีการสืบทอด ปรับปรุง พัฒนา และเผยแพร่ให้คงอยู่ตราบปัจจุบัน ดนตรีพื้นบ้านอีสาน จำแนกเป็นหมวดหมู่ได้หลายรูปแบบ ดังนี้
จำแนกตามลักษณะวิธีเล่น

๑ ประเภทเครื่องดีด - พิณ- หึน หรือ หืน
๒ ประเภทเครื่องเป่า - แคน - โหวด- ปี่กูแคน หรือ ปี่ภูไท
๓ ประเภทเครื่องตี หรือ เคาะ - โปงลาง - กลอง - กั๊บแก๊บ - ฆ้องโหม่ง- ฉิ่ง - ฉาบ
๔ ประเภทเครื่องสี - ซอ
๕ ประเภทเครื่องดึง - ไหซอง

จำแนกตามวัตถุประสงค์การบรรเลง

๑ ประเภทบรรเลงทำนอง - แคน- พิณ - ซอ - โหวด - โปงลาง - ปี่กู่แคน หรือ ปี่ภูไท - หึน หรือ หืน
๒ ประเภทให้จังหวะ- กลอง - กั๊บแก๊บ - ฆ้องโหม่ง- ฉิ่ง - ฉาบ - ไหซอง

ดนตรีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการฟ้อนซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะดนตรีนอกจากจะให้การฟ้อนเกิดความพร้อมเพรียงกันแล้ว ดนตรียังเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้ฟ้อนรู้สึกต้องการฟ้อนและฟ้อนอย่างมีความสุข ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนมีตั้งแต่ดนตรีชิ้นเดียวอย่างเสียงกระทบของสาก เสียงกลอง จนถึงการผสมวงมีเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นประกอบกัน ดนตรีอีสานแบ่งออกตามกลุ่มวัฒนธรรมดังนี้
วัฒนธรรมกลุ่มอีสานเหนือ วัฒนธรรมกลุ่มอีสานเหนือ หรือกลุ่มไทยลาว หรือกลุ่มหมอลำหมอแคน ซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมมาจากลุ่มแม่น้ำโขง เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มีหลายประเภท ถ้าแบ่งประเภทโดยยึดการใช้หรือการเล่นดนตรีนั้นๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า
วัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้ วัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมมาจากเขมร-ส่วย หรือกลุ่มเจรียง-กันตรึม และกลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือกลุ่มเพลงโคราช ในที่นี้จะเน้นเฉพาะกลุ่มเจรียง-กันตรึม ซึ่งแบ่งประเภทเป็นสี่ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า

ลักษณะและโอกาสในการบรรเลงดนตรี
ลักษณะและโอกาสในการบรรเลงดนตรีของกลุ่มหมอลำ พอจะแบ่งออกได้เป็น 2ลักษณะ คือ
-การบรรเลงดนตรีเพื่อประกอบพิธีกรรม ได้แก่ การสูตรขวัญ การลำผีฟ้า เป็นต้น
-การบรรเลงดนตรีเพื่อความบันเทิง ได้แก่ การลำ การเป่าแคน การดีดพิณ เป็นต้น
การบรรเลงดนตรีเพื่อความบันเทิงนี้ ยังแบ่งออกเป็นความบันเทิงส่วนตัว และความบันเทิงระหว่างเพื่อนฝูง เช่น การบรรเลงตามหมู่บ้านยามค่ำคืน กับ การบรรเลงเพื่อความบันเทิงแก่สาธารณชน เช่น การแสดงที่ได้รับการว่าจ้างตามงานบุญต่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น